Wednesday, August 15, 2018

นวัตกรรมและสื่อการสอนคณิตศาสตร์

นวัตกรรมและสื่อการสอนคณิตศาสตร์


จุฑาทิพ ดีละม้าย  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า


ความหมายของ "นวัตกรรมการศึกษา"

             “นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

             “นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา

ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” 

             “นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น

ตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษาที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์

1. โปรเเกรม GSP

             ย่อมาจาก Geometer's Sketchpad ยังเป็นของใหม่ในวงการศึกษาไทย แต่กว่า 60 ประเทศทั่วโลกเขาใช้กันแล้ว โดยแปลเป็นภาษาต่างๆ หากรวมภาษาไทยด้วยก็ 16 ภาษา 

             GSP เป็นโปรแกรมที่ครูสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยให้การเรียนการสอนคณิตศาสตร์มีประสิทธิภาพและน่าสนใจมาก สามารถนำเสนอภาพเคลื่อนไหว (Animation) มาใช้อธิบาย เนื้อหาที่ยากๆ เช่น ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ (เรขาคณิต พีชคณิต ตรีโกณมิติ แคลคูลัส)ฟิสิกส์ (กลศาสตร์ และอื่นๆ ) ให้เป็นรูปธรรม ให้นักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจง่าย และโปรแกรมยังเน้นให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติด้วยตัวเองได้ นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาอื่นๆ เช่น วิทยาศาสตร์ ศิลปะ อย่างไม่มีข้อจำกัด 

             โปรแกรม GSP พัฒนาขึ้นโดยบริษัท Key Curriculum Press ตั้งแต่ปี ค.ศ.1991 และพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จนถึงเวอร์ชั่น 4.0 โรงเรียนต่างๆ ในสหรัฐอเมริกาใช้โปรแกรมนี้สอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมากที่สุด และในหลายๆ ประเทศทั่วโลก อาทิ แคนาดา สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ มาเลเซีย ไต้หวัน ฮ่องกง เดนมาร์ก ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ได้ใช้โปรแกรมนี้อย่างแพร่หลาย ในส่วนของประเทศไทยนั้นได้ลงนามในพิธีครองลิขสิทธิ์การใช้ซอฟต์แวร์ GSP เวอร์ชั่น 4.0  ณ โรงแรม อิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค กรุงเทพมหานคร 

             โปรแกรมนี้ทำให้ครูและนักเรียนมีเวลาในการเรียนการสอนมากขึ้น เพราะไม่ต้องเสียเวลานานในการสร้างรูป เรขาคณิตจำนวนมากเพื่อพิสูจน์ทฤษฎีต่างๆ อีกทั้งยังทบทวนได้ง่ายและบ่อยขึ้น การสอนด้วยโปรแกรม GSP ยังทำให้นักเรียนเรียนได้สนุก เข้าใจได้เร็ว และน่าตื่นเต้น นอกจากนั้น การใช้ GSP สร้างสื่อการสอนและใบงาน ยังทำได้รวดเร็วและแม่นยำกว่าใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์ออฟฟิศอื่นๆ 

             GSP สามารถสร้าง เกมสนุกๆ ทางคณิตศาสตร์ ได้มากมาย ดังที่ปรากฏในหนังสือ 101 Project Ideas for The Geometeržs Sketchpad ยกตัวอย่างเช่น เด็กๆ จะได้สนุกกับการสร้างใบหน้าคนจากเส้นโค้ง เส้นตรง วงกลม สี่เหลี่ยม ที่แสดงอารมณ์ปกติและอารมณ์โกรธ และทดลองสร้างภาพด้วยตัวเอง นอกจากนั้น นักออกแบบโปรแกรม GSP ยังใช้สร้างแผนภาพ รูปร่าง รูปทรงสามมิติได้มากมาย 

2. โปรเเกรม Science Teacher"s Helper (โปรแกรม แก้ไข สูตรคณิตศาสตร์ สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์)

             เป็นโปรแกรมแก้ไข สูตรคณิตศาสตร์ หรือแก้ไข สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ เป็นโปรแกรม Add-On สำหรับ Microsoft Word มันถูกออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์เดียวเท่านั้นครับ คือ ช่วยคุณประหยัดเวลาในการเขียนหรือแก้ไข สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เคมีและฟิสิกส์ในเอกสาร คุณสามารถที่จะ แก้ไข สูตรคณิตศาสตร์ ใส่ฟังก์ชั่นถึง 1200 ฟังก์ชั่นได้อย่างง่ายๆ กราฟหรือชาร์ตทางฟิสิกส์,เคมีและคณิตศาสตร์ลงในเอกสาร MS Word

3. E-Learning 

             คำว่า e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอมการเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น 

             ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า e-Learning กับการเรียน การสอน หรือการอบรม ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมถึงเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ และที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆ ของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology)

             คำว่า e-Learning นั้นมีคำที่ใช้ได้ใกล้เคียงกันอยู่หลายคำเช่น Distance Learning (การเรียนทางไกล) Computer based training (การฝึกอบรมโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือเรียกย่อๆว่า CBT) online learning (การเรียนทางอินเตอร์เนต) เป็นต้น ดังนั้น สรุปได้ว่าความหมายของ e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฎิสัมพันธ์ได้

ข้อดี

ประโยชน์สำหรับผู้เรียน ผู้เรียนจะได้รับประโยชน์ดังนี้

1. ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้ความสามารถของตนเองในการเรียนรู้อย่างเต็มที่

2. ผู้เรียนมีโอกาสตัดสินใจในการเลือกเรียนตามช่องทางที่เหมาะกับความสามารถของตนเอง

3. ทำให้กระบวนการเรียนรู้ง่ายขึ้น

4. ผู้เรียนมีอิสระในการเลือก

5. ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ในทุกเวลา ทุกสถานที่ ทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น

6. ลดเวลาในการเรียนรู้และผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้มากกว่าเดิมในเวลาเท่ากัน

7. ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทั้งในแนวกว้างและแนวลึก

8. ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักเสาะหาแหล่งการเรียนรู้

9. ฝึกให้ผู้เรียน คิดเป็นและสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ 


ประโยชน์สำหรับผู้สอน ผู้สอนจะได้ประโยชน์ดังนี้

1. ทำให้ประสิทธิภาพของการสอนสูงขึ้น

2. ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมได้หลากหลาย

3. ทำให้ผู้สอนมีเวลามากขึ้น จึงใช้เวลาที่เหลือในการเตรียมการสอนได้เต็มที่

4. ทำให้กระบวนการสอนง่ายขึ้น

5. ลดเวลาในการสอนน้อยลง

6. สามารถเพิ่มเนื้อหาและจุดมุ่งหมายในการสอนมากขึ้น

7. ผู้สอนไม่ต้องใช้เวลาสอนทั้งหมดอยู่ในชั้นเรียนเพราะบทบาทส่วนหนึ่งผู้เรียนทำเอง

8. ผู้สอนสามารถแก้ปัญหาความไม่ถนัดของตนเองได้

9. ผู้สอนสามารถสอนผู้เรียนได้เนื้อหาที่กว้างและลึกซึ้งกว่าเดิม

10. ง่ายในการประเมิน เพราะการใช้เทคโนโลยี มุ่งให้ผู้เรียนประเมินตนเองด้วย

ประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา ในแง่ของการจัดการศึกษาจะได้รับประโยชน์ ดังนี้

1. สามารถเปิดโอกาสของการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง

2. ทำให้ลดช่องว่างทางการศึกษาให้น้อยลง

3. สามารถสร้างผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

4. ทำให้การจัดการและการบริหารเป็นระบบมากขึ้น

5. ทำให้ลดการใช้งบประมาณและสามารถใช้งบประมาณที่มีอยู่ให้คุ้มค่า

6. สามารถแก้ปัญหาทางการศึกษาได้หลายประการ


ข้อเสีย

1. มีการแข่งขันกันสูงขึ้น ทำให้คนคนแก่ตัวมากขึ้น

2. ทำให้บทบาทเเละความสัมพันธ์ ของผู้สอนเเละผู้เรียนมีน้อยลง

3. เกิดความสะดวกสบายมากขึ้น อาจจะทำให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดเเละสติปัญญาน้อยลง


              kamonwan (2558) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า

นวัตกรรม

            “นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)
              คำว่า นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovateแปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่านวัตกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น นวัตกร” (Innovator) (boonpan edt01.htm)

นวัตกรรม แบ่งออกเป็น ระยะ คือ

             ระยะที่ มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
             ระยะที่ พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
             ระยะที่ การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์

             นวัตกรรม คือ การนำเทคโนโลยีต่างๆ มาก่อให้เกิดประโยชน์ และมีคุณค่า นั้นคือ นิยาม ของ นวัตกรรม คือ ของใหม่ และ มีประโยชน์

ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา

              ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาที่นิยมนำมาใช้ในการแก้ปัญหา/พัฒนาการเรียนการสอน
อาจแบ่งได้เป็น ประเภท ดังนี้
              1. สื่อการเรียนการสอน อาทิ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนวีซีดี บทเรียนซีดีบทเรียนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ บทเรียนการ์ตูน แบบฝึกทักษะ ฯลฯ
              2. รูปแบบ/วิธีการเรียนการสอนแบบต่างๆ อาทิ วิธีการสอนแบบร่วมมือร่วมใจวิธีการสอนแบบซิปปา (CIPPA Model) วิธีการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง วิธีการสอนฝึกกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ฯลฯ
              3. หลักสูตรแบบต่างๆ อาทิ หลักสูตรสาระเพิ่มเติม หลักสูตรท้องถิ่น หลักสูตรฝึกอบรม หลักสูตรวิชาชีพต่างๆ ฯลฯ
              4. กระบวนการบริหารแบบต่างๆ อาทิ การบริหารเชิงระบบ การบริหารแบบธรรมาภิบาลการบริหารการจัดการความรู้ การบริหารแบบกัลยาณมิตร การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ฯลฯ
              นวัตกรรมทางการเรียนการสอน หมายถึง กระบวนการ เทคนิค วิธีการ แนวคิด หลักปฏิบัติ เครื่องมือหรือสิ่งใหม่ๆ ที่ได้ผ่านการทดลองและพัฒนาอย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ แล้วนำมาใช้ในการเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของการเรียนการสอน
              สื่อการสอน ก็คือ ตัวกลางสำคัญที่จะช่วยเชื่อมโยงกระบวนการเรียนการสอนของเราให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สื่อการสอนไม่จำเป็นต้องเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์เสมอไป แต่มันอาจเป็นตัวหนึ่งที่สามารถทำให้ผู้เรียนรู้สึกกระตุ้น สนใจที่จะเรียนมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นการสร้างบรรยากาศของห้องใหม่ที่ดี เปลี่ยนสไตล์การสอน ทำกิจกรรม อย่างนี้เป็นต้น

ประเภทสื่อการสอน

               1. ประเภทวัสดุ ( Material or Software ) เป็นสื่ออยู่ในรูปของภาพ เสียง หรือตัวอักษร แยกได้เป็น ชนิด คือ
               1.1 ชนิดที่สามารถสื่อความหมายได้ด้วยตัวของมันเอง เช่น รูปภาพ แผนภูมิ ภาพวาด หนังสือ
               1.2 ชนิดที่ต้องอาศัยเครื่องมือเสนอเรื่องราวไปสู่ผู้เรียน เช่น ภาพโปร่งแสง สไลด์ แถบบันทึกเสียง ฟิล์มภาพยนตร์ เป็นต้น
               2. ประเภทเครื่องมือ (Hardware or Equipment) หมายถึง เครื่องมือที่เป็นตัวกลางส่งผ่านความรู้ไปสู่ผู้เรียน เช่น เครื่องฉายชนิดต่าง ๆ เครื่องเสียงชนิดต่าง ๆ เครื่องรับและส่งวิทยุและโทรทัศน์ ซึ่งต้องอาศัยวัสดุประกอบเช่น ฟิล์มแถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ เป็นต้น
               3. ประเภทเทคนิคหรือวิธีการ (Technique or Method) หมายถึง เทคนิคหรือวิธีการที่จะใช้ร่วมกับวัสดุและเครื่องมือ หรือใช้เพียงลำพังในการจัดการเรียนการสอนได้แก่ การสาธิต การทดลอง การแสดงละคร การจัดนิทรรศการ เป็นต้น

                ผู้เรียนจะบรรลุจุดประสงค์การเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ผู้สอนจะต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในศาสตร์นั้นๆ และจะต้องมีเทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อนำสามารถถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ไปสู่ผู้เรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ หรือมีการใช้สื่อการเรียนการสอนที่น่าสนใจ
                บทบาทของสื่อการสอน คือ สื่อจะทำให้ครูมีความมั่นใจในการสอนมากขึ้น เพราะมีความหลากหลาย และน่าสนใจ สื่อยังเป็นสิ่งที่ใช้พัฒนาผู้เรียนได้ ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ เรียนรู้อย่างชัดเจน และทำให้ผู้เรียนสนใจเรียนมากขึ้นด้วย


                Uraiwan (2553) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า

ความหมายของสื่อการเรียนการสอน

              สื่อการสอน คือ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ รวมทั้งวิธีการสอน ซึ่งเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะและประสบการให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ



ความสำคัญของสื่อการเรียนการสอน

             ในการที่ครูจะถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนนั้นจะต้องอาศัยวิธีการหลายๆอย่าง เพราะปัจจุบันครูไม่ใช่แค่ผู้บอก ครูเพียงเป็นผู้แนะแนวทาง ที่จะให้นักเรียนได้คิดค้นด้วยตนเอง การที่ใช้รูปธรรมเข้าช่วยนั้นจะทำให้นักเรียนเข้าใจยิ่งขึ้น สื่อการเรียนการสอนนั้นมีความสำคัญดังนี้

ยุพิน พิพิธกุล(2530 :282-283) ได้กล่าวสรุปถึงความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้

1.ในการสอนนั้นจะต้องให้นักเรียนได้รับประสบการณ์หลายๆด้าน สื่อการเรียนการสอนจะช่วยให้เข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น

2.เนื่องจากนักเรียนมีความสามารถแตกต่างกัน นักเรียนบางคนใช้เพียงการอธิบายก็เข้าใจ แต่บางคนต้องให้ดูรูปภพ ดูวัสดุประกอบจึงจะเข้าใจได้

3.เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนใจและประหยัดเวลาในการสอน

4.เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม ทำให้เกิดความเข้าใจแน่นแฟ้นและจำไปใช้ ได้นาน

5.เพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดีแก่นักเรียนและทำให้นักเรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

6.การที่จะทำให้นักเรียนเกิดความสนใจได้นั้น ครูควรจะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำและใช้สื่อการเรียนการสอนนั้นๆ

ประเภทของสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

              เพื่อให้ครูคณิตศาสตร์ได้เลือกสื่อการสอนตามวามเหมาะสมแก่สภาพท้องถิ่น สภาพโรงเรียน และเป็นไปด้วยความประหยัด สื่อการเรียนการสอนนั้นจะเป็นอะไรก็ได้ที่สามารถทำให้นักเรียนเกิด การเรียนรู้ ซึ่ง ยุพิน พิพิธกุล (2524 : 283 - 284) ได้กล่าวถึงสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ไว้ ดังนี้

1.วัสดุ แบ่งออกได้ดังนี้ คือ

ก. วัสดุประกอบการสอนประเภทสิ่งพิมพ์ ซึ่งได้แก่ แบบเรียน คู่มือครู โครงการสอน เอกสารประกอบการสอน วารสาร จุลสาร บทเรียนแบบโปรแกรม เอกสารแนะแนวทาง เป็นต้น

ข. วัสดุประดิษฐ์ เป็นสิ่งที่ครูทำขึ้นเอง จะใช้กระดาษ ไม้ พลาสติก และสิ่งอื่นๆ ที่ครูประดิษฐ์ขึ้นใช้ประกอบการสอน เช่นกระดาษทำรูปทรงต่างๆทางเรขาคณิต เป็นต้นว่า รูปกรวย ปริซึม พีระมิด ชุดการสอน ภาพเขียน ภาพโปร่งใส ภาพถ่าย แผนภูมิ บัตรคำ กระเป๋าผนัง แผนภาพพลิก กระดานตะปู

ค. วัสดุถาวร ได้แก่ กระดานดำ กระดานนิเทศ กระดานกราฟ ของจริง ของจำลอง ของตัวอย่าง เทปบันทึกภาพ เทปเสียง โปสเตอร์ แผนที่ แผ่นเสียง ฟีล์มสตริป

ง. วัสดุสิ้นเปลือง ชอร์ก สไลด์ ฟีล์ม ฯลฯ

2.อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนประเภทอุปกรณ์ที่ใช้กันมากคือ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ซึ่งใช้กับแผ่น

โปร่งใส เครื่องขยายสไลด์และฟีล์มสตริป เครื่องเสียง จอฉายภาพ ฯลฯ

3. กิจกรรม การจัดกิจกรรมต่างๆเป็นสื่อการสอนเช่นเดียวกัน เช่น การทดลอง การจัดนิทรรศการ การเล่นละคร การเล่าเรียน การศึกษานอกสถานที่ การสาธิต การทำโครงงาน การร้องเพลง คำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง (กลอน กาพย์ โคลง ฯลฯ) เกมปริศนา

4.สิ่งแวดล้อม เป็นสื่อการสอนที่หาได้ง่าย เช่น เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ครูควรแสวงหาสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรามาใช้ เพื่อเป็นการประหยัด สื่อการเรียนการสอนนั้น ไม่จำเป็นจะต้องมีราคาแพง แม้แต่ตัวคนหรือนักเรียนเองก็ถือว่าเป็นสื่อการเรียนการสอน นอกจากนั้น พวกประเภทของจริงก็ใช้ได้ เช่น ใช้ผลไม้มาแบ่งเพื่อสอนเรื่องเศษส่วน เป็นต้น

แนวทางการผลิตและเลือกสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์

             สมชาย ลีลานิตย์กุล (2553 : 79) ได้ให้แนวทางในการผลิตและเลือกสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ไว้ดังนี้

1.ต้องผลิตสื่อตามเนื้อหาที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว โดยกำหนดเป็นหน่วยที่แยกย่อยลงไปจนถึงหนึ่งหน่วยต่อการสอน ครั้ง

2.ควรผลิตและเลือกสื่อการสอนในลักษณะที่มีสื่อมาประกอบกันเป็นชุดการสอน ชุด สำหรับการสอน ครั้ง โดยมีชุดอุปกรณ์ประกอบด้วย

3.ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การสอนคณิตศาสตร์ทำไม่ได้เพียงด้วยการพูดให้ฟัง ดังนั้นจึงควรผลิตและใช้สื่อการสอนในทุกโอกาสที่จะทำได้

4.การผลิตและเลือกสื่อการสอน ควรคำนึงถึงธรรมชาติของสื่อในการที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ รูปธรรมให้ ผู้เรียนมากที่สุด ทั้งที่เป็นสื่อที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น เช่น เมล็ดพืช ก้อนกรวด ก้อนหิน ฯลฯ และสื่อที่มีผู้ผลิตจำหน่าย เช่น ไม้บล็อก หรือภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นการเกิดรูปทรงต่าง ๆ โดยเทคนิคการสร้างภาพเคลื่อนไหวเข้าช่วย

5.การเรียนคณิตศาสตร์ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน การฝึกฝนแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องบูรณาการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์

6.ก่อนผลิตและเลือกสื่อการสอนคณิตศาสตร์ ครูควรได้ศึกษาวิธีการจากระบบสื่อการสอน คณิตศาสตร์ที่มีผู้คิดขึ้นแล้ว เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตสื่อ


              สรุป สื่อการสอน คือ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ รวมทั้งวิธีการสอน ซึ่งเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะและประสบการให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

สื่อแบ่งเป็น ประเภท 
1. ประเภทวัสดุ ( Material or Software )เป็นสื่ออยู่ในรูปของภาพ เสียง หรือตัวอักษร แยกได้เป็น ชนิด คือ
1.1 ชนิดที่สามารถสื่อความหมายได้ด้วยตัวของมันเอง
1.2 ชนิดที่ต้องอาศัยเครื่องมือเสนอเรื่องราวไปสู่ผู้เรียน
2. ประเภทเครื่องมือ (Hardware or Equipment) หมายถึง เครื่องมือที่เป็นตัวกลางส่งผ่านความรู้ไปสู่ผู้เรียน
3. ประเภทเทคนิคหรือวิธีการ (Technique or Method)หมายถึง เทคนิคหรือวิธีการที่จะใช้ร่วมกับวัสดุและเครื่องมือ หรือใช้เพียงลำพังในการจัดการเรียนการสอน

แนวทางการผลิตและเลือกสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์
1.ต้องผลิตสื่อตามเนื้อหาที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว โดยกำหนดเป็นหน่วยที่แยกย่อยลงไปจนถึงหนึ่งหน่วยต่อการสอน ครั้ง
2.ควรผลิตและเลือกสื่อการสอนในลักษณะที่มีสื่อมาประกอบกันเป็นชุดการสอน ชุด สำหรับการสอน ครั้ง โดยมีชุดอุปกรณ์ประกอบด้วย
3.ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การสอนคณิตศาสตร์ทำไม่ได้เพียงด้วยการพูดให้ฟัง ดังนั้นจึงควรผลิตและใช้สื่อการสอนในทุกโอกาสที่จะทำได้
4.การผลิตและเลือกสื่อการสอน ควรคำนึงถึงธรรมชาติของสื่อในการที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ รูปธรรมให้ ผู้เรียนมากที่สุด ทั้งที่เป็นสื่อที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น เช่น เมล็ดพืช ก้อนกรวด ก้อนหิน ฯลฯ และสื่อที่มีผู้ผลิตจำหน่าย เช่น ไม้บล็อก หรือภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นการเกิดรูปทรงต่าง ๆ โดยเทคนิคการสร้างภาพเคลื่อนไหวเข้าช่วย
5.การเรียนคณิตศาสตร์ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน การฝึกฝนแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องบูรณาการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์
6.ก่อนผลิตและเลือกสื่อการสอนคณิตศาสตร์ ครูควรได้ศึกษาวิธีการจากระบบสื่อการสอน คณิตศาสตร์ที่มีผู้คิดขึ้นแล้ว เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตสื่อ

นวัตกรรม หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น ระยะ คือ
             ระยะที่ มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย

             ระยะที่ พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)

             ระยะที่ การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์

ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาที่นิยมนำมาใช้ในการแก้ปัญหา/พัฒนาการเรียนการสอน อาจแบ่งได้เป็น ประเภท ดังนี้
1. สื่อการเรียนการสอน
2. รูปแบบ/วิธีการเรียนการสอนแบบต่างๆ
3. หลักสูตรแบบต่างๆ
 4. กระบวนการบริหารแบบต่างๆ

ตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษาที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์
1. โปรเเกรม GSP  เป็นโปรแกรมที่ครูสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยให้การเรียนการสอนคณิตศาสตร์มีประสิทธิภาพและน่าสนใจมาก สามารถนำเสนอภาพเคลื่อนไหว (Animation) มาใช้อธิบาย เนื้อหาที่ยากๆ
2. โปรเเกรม Science Teacher"s Helper (โปรแกรม แก้ไข สูตรคณิตศาสตร์ สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์)
3.E-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ที่มา

จุฑาทิพ ดีละม้าย. http://mamay3naja.wixsite.com/jutatip305/services1. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม                       2561.

kamonwan. (2558). http://kamonwan2259.blogspot.com/2015/08/blog-post.html. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวัน                             ที่ 16 สิงหาคม 2561.

Uraiwan. (2553). http://teaching-maths3.blogspot.com/2010/07/blog-post_1999.html. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวัน                       ที่ 12 สิงหาคม 2561.



การเรียนการสอนตามสภาพจริง (Authentic instruction)

การเรียนการสอนตามสภาพจริง (Authentic instruction)

ความเป็นมา     
การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง เป็นนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนซึ่งในปี ค.ศ. 1990 นักการศึกษาในสหรัฐอเมริกาต่างตระหนักว่านวัตกรรมการเรียนการสอนที่ผ่านมาไม่สามารถพัฒนาคุณภาพของการเรียนการสอนหรือแม้แต่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนได้ จึงมีการปฏิรูปการเรียนการสอนในโรงเรียน โดยมุ่งเป้าหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนตามสภาพจริง กล่าวคือ เป็นผลสัมฤทธิ์ที่มีความหมายสำหรับผู้เรียน โดยได้กำหนดข้อบ่งชี้ของผลสัมฤทธิ์ตามสภาพจริง คือ ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ที่มีความหมาย ผู้เรียนเป็นผู้ใช้วิธีการสืบสอบในเนื้อหาวิชา เพื่อสร้างความหมายและผู้เรียนจะต้องมีเป้าหมายในการทำงานที่แสดงถึงสมรรถนะที่มีคุณค่าหรือมีความหมายที่บ่งบอกในความสำเร็จของการเรียน ( Newmann et al., 1995)
การเรียนการสอนตามสภาพจริง หรือการเรียนรู้แท้ ( authentic instruction) เป็นการเรียนที่ผู้เรียนจะเป็นผู้คิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมิน ตัดสินใจได้เอง มีกระบวนการที่ใช้เป็นยุทธศาสตร์ในการคิดอย่างเป็นระบบ ผู้เรียนเป็นผู้อธิบาย นำเสนอได้อย่างมีหลักวิชาการ ด้วยการเรียบเรียงด้วยตนเอง อธิบายได้อย่างครอบคลุมและชัดเจน มีกระบวนการที่ดี มีความคิดรวบยอด และหลักการของวิชาที่เรียนรู้ รวมทั้งผู้เรียนสามารถนำไปใช้ปฏิบัติในชีวิตจริงได้ นำความรู้ต่างๆ ไปพัฒนาคุณภาพชีวิต คุณภาพงาน คุณภาพสังคม สิ่งแวดล้อมได้อย่างเป็นปกติวิสัยจนเป็นหนึ่งเดียวกัน (โกวิท ประวาลพฤกษ์,2545: 31)

ทฤษฏีและแนวคิด                   
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนการสอนตามสภาพจริง         
Newman et al. 1995 ได้ทำการวิจัยที่ศูนย์การวิจัยทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยวิสคอนซินพบว่าผู้เรียนจะประสบความสำเร็จได้เมื่อใช้ความรู้ในการแก้ไขปัญหาและทดสอบสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องและได้สร้างมาตรฐานเพื่อใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการออกแบบการเรียนการสอนดังนี้
1.ผู้เรียนได้คิดขั้นสูง (higher-order thinking) การเรียนการสอนตามสภาพจริง จะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้จัดกระทำข้อมูลและใช้ความคิดในการสังเคราะห์ การสรุปนัยทั่วไป การอธิบายและการสรุปรวมเพื่อสร้างเข้าใจและความหมายใหม่ๆสำหรับผู้เรียน              
2.ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ระดับลึกมากกว่าความรู้พื้นฐาน (depth of  knowledge) การเรียนการสอนตามสภาพจริงจะต้องให้ผู้เรียนเข้าถึงแก่นความคิดของเนื้อหาวิชาใช้ความรู้ที่มากกว่าความรู้พื้นฐานโดยต้องมีการสำรวจความเชื่อมโยงดูความสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องซึ่งมีความซับซ้อน
3.ผู้เรียนได้มีโอกาสสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเนื้อหาสาระวิชาที่เรียน (substantive conversation การเรียนการสอนตามสภาพจริง จะต้องให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ในเนื้อหาวิชากับครูผู้สอนและกลุ่มผู้เรียนด้วยกัน เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในประเด็นต่างๆมากขึ้น
4.ผู้เรียนได้รับการสนับสนุนทางสังคม (social support for student achievement) การเรียนการสอนตามสภาพจริงจะต้องสร้างบรรยากาศที่ส่งผลดีแก่การเรียนรู้ได้แก่ การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน(mutual respect)ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนหรือผู้เรียนกับผู้อื่นเกิดความรู้สึกที่ดีจะต้องสร้างคุณค่าของตนเองโดยเพิ่มความพยายามให้มากขึ้นผู้สอนต้องคาดหวังว่าผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้ความรู้และทักษะที่เป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญได้ ปฏิกิริยาของผู้สอนจึงจะแสดงออกมาในวิถีทางที่เป็นการเสริมแรงแก่ผู้เรียน
5.ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้จากการเรียนสู่โลกภายนอก (connections to the world beyond the classroom)การเรียนการสอนตามสภาพจริงจะต้องเชื่อมโยงความรู้ในเนื้อหาวิชาความรู้สู่ปัญหาสาธารณะ หรือ ประสบการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสามารถนำความรู้ที่เรียนรู้ในชั้นเรียนอธิบายปัญหาต่างๆนอกชั้นเรียนได้

แนวทางการจัดการเรียนรู้                         
Newman 1995 ได้นำเสนอหลักการหรือข้อคำนึงในการนำแนวคิดการเรียนการสอนตามสภาพจริงไปใช้ให้มีประสิทธิภาพดังนี้
1.ครูต้องคุ้นเคยกับการยอมรับและการใช้ความรู้เดิมของผู้เรียนซึ่งการดูดซึมข้อมูลใหม่ของผู้เรียนขึ้นอยู่กับว่าข้อมูลนั้นช่วยให้อธิบายหรือขยายประสบการณ์เดิมของตนเองอย่างมีความหมายได้มากเพียงใด
2.ครูต้องตระหนักว่าผู้เรียนเป็นนักคิดที่ซับซ้อนที่พยายามสร้างความหมายของโลกครูจะต้องเน้นในการสร้างโอกาสสำหรับการคิดระดับสูง และความเข้าใจที่ลึกซึ้งมากกว่าการเรียนรู้แบบธรรมดาและการได้ความรู้กว้างๆอย่างเพียงผิวเผิน
3.ครูต้องให้โอกาสที่หลากหลายสำหรับผู้เรียนในการใช้การสนทนาการเรียนและรูปแบบอื่นๆของกระบวนข้อมูลข่าวสาร
4.ครูต้องเป็นผู้อำนวยความสะดวกผู้แนะนำหรือผู้นิเทศที่กระตุ้นให้ผู้เรียนทำงานในการเรียนรู้มากกว่าการทำหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารหรือข้อเท็จจริง
5.ผู้เรียนจะต้องใช้ความพยายามในการสร้างความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ครูและผู้เรียนจะต้องร่วมมือ เชื่อใจ และตั้งความหวังสำหรับความสำเร็จของตนเองในระดับสูง                                          
กระบวนการการเรียนรู้ตามสภาพจริง
               กระบวนการการเรียนรู้ตามสภาพจริงเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจชีวิตของผู้อื่นหรือเรียกว่ากระบวนการศึกษาข้อมูลจากสภาพจริง หัวใจสำคัญของการเรียนรู้ตามสภาพจริงคือความเข้าใจวิถีชีวิต เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีความเข้าใจชีวิตคนอื่นซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้สุขภาพ พฤติกรรมของคนเพื่อการแก้ปัญหา กิจกรรมการเรียนจึงต้องสร้างเงื่อนไขให้ผู้เรียนมีโอกาส สัมผัส เก็บข้อมูล คิดทบทวน เป็นการศึกษาสภาพ  
 มีพื้นฐานที่สำคัญ 3 ประการ คือ
1.กระบวนการปรับทัศนคติในการเรียนรู้ความจริง
              เป็นกระบวนการสะท้อนความคิดเดิมของผู้เรียนออกมาโดยการกระตุ้นให้ผู้เรียน เรียนรู้และเข้าใจความคิดของตนเอง และสะท้อนให้เห็นถึงความคิดเดิมที่ส่งผลทำให้เกิด “ความคลาดเคลื่อน” ที่เกิดขึ้น ซึ่งกระบวนการปรับทัศนคติของผู้เรียนต้องมีการกระทำตลอดเวลาในการเรียนรู้ การที่ผู้เรียนรับรู้สภาพจริงได้มากขึ้น จะช่วยกระตุ้นความตื่นตัวอยากรู้ เห็นคุณค่าของการเรียนรู้ด้วยตนเอง นำไปสู่การเรียนรู้และสร้างความรู้ด้วยตนเองในระยะยาวต่อไป
2. กระบวนการศึกษาความจริงด้วยการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ
             ประกอบด้วยการปฏิบัติการศึกษาความจริงด้วยตนเอง การเรียนในสภาพจริงต้องเรียนรู้และพัฒนาความคิดด้วยตนเอง (ทำด้วยตนเอง) ดังนั้นหากต้องการให้ผู้เรียนได้ทำความเข้าใจกับความคิด ชีวิตของชาวบ้าน เพื่อทำความเข้าใจตามสภาพจริงของชาวบ้านที่เป็นอยู่ การเรียนการสอนจึงต้องสร้างเงื่อนไขให้ผู้เรียนได้ลงไปศึกษาข้อมูลและเผชิญกับสถานการณ์จริง เพื่อให้ได้คำตอบที่สะท้อนให้เห็นถึงความคิดและความรู้สึกที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรมการกระทำต่างๆของคน โดยเรียนรู้ผ่านการลองผิดลองถูก จนเกิดการประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง 
3. กระบวนการสรุปวิเคราะห์และชี้ประเด็นของครู
            บทบาทของครูมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง ทั้งในเรื่องการปรับทัศนคติและความเข้าใจในสาระที่เรียนรู้(สาระที่เป็นแก่น) ครูผู้สอนเองจึงต้องพัฒนาความสามารถหรือทักษะของตนเองในการสอนตามสภาพจริง


ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง
แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์                                                 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
เรื่อง มาทำนาฬิกาจำลองกันเถอะ                                                 เวลา 1 ชั่วโมง

สาระสำคัญ                 
ส่วนประกอบของนาฬิกาประกอบด้วย หน้าปัด เข็มสั้น เข็มยาว ชี้แบ่งเวลา และตัวเลข 1 ถึง 12 เข็มสั้นบอกเวลา เข็มยาวบอกชั่วโมงขั้นตอนการทำงานของนาฬิกาจำลอง เตรียมอุปกรณ์ วางแผนออกแบบ เขียนตัวเลข ตัดเข็มนาฬิกา ตกแต่งระบายสี และประกอบนาฬิกาจำลอง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้                 
1. นักเรียนบอกส่วนประกอบของนาฬิกาได้                 
2. นักเรียนบอกขั้นตอนการทำงานของนาฬิกาจำลองได้                 
3. นักเรียนทำนาฬิกาจำลองที่มีส่วนประกอบครบถ้วนได้                 
4. นักเรียนทำงานกลุ่มด้วยความสามัคคี                 
5. นักเรียนทำงานด้วยความรับผิดชอบจนแล้วเสร็จ

สาระการเรียนรู้                 
1. ส่วนประกอบของนาฬิกา                 
2. ขั้นตอนการทำนาฬิกาจำลอง

กิจกรรมการจัดการเรียนรู้                 
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน                 
1. ครูสนทนากับนักเรียนถึงสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเราที่บอกเวลาในชีวิตประจำวัน เช่น ไก่ขั้น นกร้อง แสงดวงอาทิตย์ เสียงสัญญาณโรงงานน้ำตาล เสียงกลองเพล เป็นต้น แล้วครูถามนักเรียนเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการบอกเวลา คืออะไร
2. นักเรียนร่วมร้องเพลงนาฬิกา                 
3. แจ้งเรื่องที่จะเรียน จุดประสงค์การเรียนรู้ และสาระการเรียนรู้                 
ขั้นกิจกรรม                 
1. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มๆละ 5-6 คน ครูแจกชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เวลาในชุดกิจกรรมที่ 1 เรื่อง ทำนาฬิกาจำลองกันเถอะ                 
2. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมที่ 1 นาฬิกาของฉัน โดยศึกษาความรู้จากใบความรู้ เรื่อง ส่วนประกอบของนาฬิกา แล้วช่วยกันเขียนส่วนประกอบของนาฬิกาลงในวงกลม ที่กำหนดให้พร้อมระบายสีให้สวยงาม                 
3. ครูสุ่มนักเรียนอธิบายส่วนประกอบของนาฬิกา แล้วให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานของตนเองที่ป้ายนิทรรศการของห้องเรียน                  
4. ครูเชิญชวนให้นักเรียนแต่ละกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมที่ 2 มาทำนาฬิกาจำลองกันเถอะ โดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันทำนาฬิกาจำลองกลุ่มละ 1 เรือน โดยใช้อุปกรณ์ที่ครูจัดเตรียมไว้ให้ พร้อมทั้งศึกษาความรู้จากใบความรู้ เรื่อง ขั้นตอนการทำนาฬิกาจำลอง                 
5. นักเรียนร่วมกันวางแผนการทำงาน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในกลุ่ม และลงมือปฏิบัติกิจกรรม ตกแต่งให้สวยงาม แล้วนำนาฬิกาจำลองเจาะจุดกึ่งกลางแล้วยึดด้วยหมุด เพื่อทำให้เข็มนาฬิกาจำลองหมุนได้จริง                 
6. นักเรียนแต่ละกลุ่มตรวจสอบผลงานว่าใช้ได้จริง เพื่อประกวดกับกลุ่มอื่นๆ                 
7 นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน แล้วทุกคนร่วมกันลงคะแนนเสียงเพื่อหาข้อสรุปนาฬิกาที่สมบูรณ์ และสวยงามที่สุด                 
ขั้นสรุป                 
1. นักเรียนทุกกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้ เรื่อง ส่วนประกอบของนาฬิกา และเรื่อง การทำนาฬิกาจำลองกันเถอะ กับเพื่อนๆต่างกลุ่ม ครูยกย่องชมเชยการทำงานของทุกกลุ่มและอธิบายเพิ่มเติมในประเด็นที่นักเรียนยังไม่เข้าใจชัดเจน
2. นักเรียนทุกกลุ่มนำนาฬิกาจำลองไปติดไว้ที่ป้ายนิทรรศการในห้องเรียน ซึ่งจะนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนครั้งต่อไป                 
3. นักเรียนทุกกลุ่มช่วยกันทำความสะอาดสถานที่ปฏิบัติกิจกรรม และเก็บอุปกรณ์เข้าที่ให้เรียบร้อย 
4. นักเรียนทำแบบทดสอบ เรื่อง ทำนาฬิกาจำลองกันเถอะ แล้วตรวจสอบความถูกต้องจากบัตรเฉลยแบบทดสอบ

สื่อการเรียนรู้                 
1. นาฬิกาจริง                 
2. ใบกิจกรรมที่ 1 นาฬิกาของฉัน                 
3. ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง ส่วนประกอบของนาฬิกา                 
4. บัตรเฉลยกิจกรรมที่ 1 นาฬิกาของฉัน                 
5. ใบกิจกรรมที่ 2 ทำนาฬิกาจำลองกันเถอะ                 
6. อุปกรณ์การทำนาฬิกาจำลอง                 
7. ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง ขั้นตอนการทำนาฬิกาจำลอง                 
8. แบบทดสอบ                 
9. บัตรเฉลยแบบทดสอบ

การวัดและประเมินผล
วิธีการ
เครื่องมือ
เกณฑ์
                 1.       ตรวจผลงาน                      
            1.    แบบประเมินผลงาน                (กิจกรรมที่ 1 , 2)
              1. นักเรียนปฏิบัติได้ถูกต้องมากกว่าร้อยละ 80
                 2.       ทดสอบ
      2.    แบบทดสอบ
        2. นักเรียนทำแบบทดสอบได้ถูกต้องมากกว่าร้อยละ 80
                 3.       สังเกต
      3.    แบบสังเกตการทำงานกลุ่ม
        3. นักเรียนปฏิบัติงานกลุ่มตามกระบวนการได้ถูกต้องมากกว่าร้อยละ 80
                                      
ข้อค้นพบจากการวิจัย                        
จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนการสอนตามสภาพจริงมีข้อค้นพบจากการวิจัยของ วิทวัฒน์ ขัตตินะมาน (2546) ที่ได้วิจัยการนำเสนอปฏิบัติการทางเลือกของการเรียนการสอนตามสภาพจริง แนววิชาหลักสูตรและการสอนทั่วไปสำหรับนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) นิสิตศึกษาศาสตร์กลุ่มทอลองทั้งสามกลุ่ม มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องหลักสูตรและการสอน คะแนนเฉลี่ยคามสามารถด้านการวางแผนการสอนและคะแนนเฉลี่ยลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองหลักการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นิสิตศึกษาศาสตร์มีความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวปฏิบัติของการเรียนการสอนตามสภาพจริงในระดับมากในทุกข้อ  (3) บรรยากาศของการเรียนการสอนตามสภาพจริงทั้งสามกลุ่ม มีความเป็นสภาพจริงตั้งแต่ระดับปานกลางถึงมากที่สุด และ (4) การศึกษาวิธีปฏิบัติของผู้สอน ความสำเร็จ และอุปสรรคของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน พบว่านิสิตมีความกระตือรือร้นและให้ความสนใจกับกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้ประสบการณ์การเรียนรู้ตามสภาพจริงมากที่สุด รองลงมาคือประสบการณ์การเรียนรู้สมมติและสุดท้ายคือประสบการณ์การเรียนรู้วิชาการ 
             
โดยสรุป
           
การจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง ผู้สอนควรเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภายใต้ประสบการณ์ที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ข้อมูลความรู้ประสบการณ์ที่ได้ไปใช้ในสถานการณ์จริง หรือโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสร้างความรู้ด้วยตนเองใช้กระบวนการสืบสอบทางวิชาการและผู้เรียนได้มีโอกาสเชื่อมโยงกิจกรรมการเรียนการสอนไปสู่ชีวิตจริงของเขา

ที่มา

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2554). การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : แดเน็กซ์ อินเตอร์                      คอร์ปอเรชั่น.
ภาวินี เสาะสืบ. http://www.bcnsurin.ac.th/.../1315292551_[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2561.




นวัตกรรมและสื่อการสอนคณิตศาสตร์

นวัตกรรมและสื่อการสอนคณิตศาสตร์ จุ ฑาทิพ ดีละม้าย     ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า ความหมายของ "นวัตกรรมการศึกษา"      ...