Sunday, July 22, 2018

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning) 

          รังสิมา วงษ์ตระกูล (2553) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ หมายถึง กระบวนการการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนได้ร่วมมือและช่วยเหลือกันในการเรียนรู้โดยแบ่งกลุ่มผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกันออกเป็นกลุ่มเล็กๆ ซึ่งเป็นลักษณะการรวมกลุ่มอย่างมีโครงสร้างที่ชัดเจน มีการทำงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งในส่วนตนและส่วนรวม เพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องนั้นสามารถสรุปได้ 3 ทฤษฎีหลักๆดังนี้

1. ทฤษฎีกระบวนการกลุ่ม

          กระบวนการกลุ่มเป็นเรื่องของการทำงานของกลุ่มคน  ทฤษฎีด้านนี้มุ่งศึกษาเพื่อหาความรู้ที่จะนำไปใช้ในการปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงทัศนคติ และพฤติกรรมของคน อันจะเป็นประโยชน์ในด้านการสร้างเสริมความสัมพันธ์ และปรับปรุงการทำงานของกลุ่มให้มีประสิทธิภาพ เนื้อหาของทฤษฎีนี้จึงมุ่งศึกษาถึงเรื่องธรรมชาติของคน พฤติกรรมของคน  ธรรมชาติของกลุ่ม

2. ทฤษฎีด้านสติปัญญา

          Sutton กล่าวว่า ทฤษฎีด้านสติปัญญา สนับสนุนว่าการเรียนแบบร่วมมือเป็นวิธีการเรียนที่แบ่งปันประสบการณ์ของแต่ละบุคคลไปสู่กลุ่ม ซึ่งจะช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งนักเรียนที่เรียนเก่ง และนักเรียนที่เรียนช้า  เพราะนักเรียนที่เรียนเก่งจะได้รับประโยชน์ในการเรียนรู้ยิ่งขึ้นในการที่ตนเองได้อธิบาย  ชี้แจง  บทเรียนให้กับเพื่อน  ในขณะที่นักเรียนที่มีสติปัญญาต่ำ เรียนรู้ได้ช้า  ได้ประโยชน์จากการที่ได้แหล่งความรู้ที่มีค่าจากเพื่อนอีกแห่งนอกเหนือจากการสอน  นอกจากนี้การที่นักเรียนได้ทำงานร่วมกันทำให้เกิดความสนุกสนาน  ความอบอุ่น  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  การพัฒนาทักษะทางสังคม  พัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักเรียนกับกลุ่มเพื่อน

          Piaget  กล่าวว่า การปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนในวัยเดียวกันเป็นสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม  ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ความคิดรวบยอดที่ต้องการเรียนได้อย่างดี

3.  ทฤษฎีเสริมแรงของสกินเนอร์

          สกินเนอร์  กล่าวว่า  พฤติกรรมส่วนมากของมนุษย์เป็นพฤติกรรม Operant Behavior ซึ่งสิ่งมีชีวิต (Organism) ทั้งคนและสัตว์เป็นผู้เริ่มที่จะกระทำต่อ (Operant) สิ่งแวดล้อมของตนเองดังนั้นการเรียนรู้แบบนี้บางครั้งเรียกว่า Instrumental Conditioning สกินเนอร์พบว่าถ้าต้องการให้ Operant Behavior คงอยู่ต่อไป จำเป็นต้องให้แรงเสริม สกินเนอร์ได้แบ่งแรงเสริมออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. แรงเสริมบวก (Positive Reinforcement) หมายถึง  สิ่งของ คำพูด หรือสภาพการณ์ที่จะช่วยให้แสดงพฤติกรรมโอเปอแรนต์เกิดขึ้นอีก หรือสิ่งทำให้เพิ่มความน่าจะเป็นไปได้(Probability) ของการเกิดพฤติกรรมโอเปอแรนต์

2. แรงเสริมลบ (Negative Reinforcement)  หมายถึง การเปลี่ยนสภาพการณ์หรือเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมบางอย่างอาจจะทำให้แสดงพฤติกรรมโอเปอแรนต์ได้ บางครั้งนักจิตวิทยาเรียกการเสริมแรงทางลบว่า Escape Conditioning

          สกินเนอร์มีความเชื่อมั่นว่า แรงเสริมเป็นตัวแปรสำคัญในการเปลี่ยนพฤติกรรม หรือการเรียนรู้ของนักเรียน

          เลิศชาย ปานมุข (2558) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 - 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้

          สยุมพร ศรีมุงคุณ (2555) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้ มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด มีการสัมพันธ์กัน มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่ หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกในกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่ม

          สรุป แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกัน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม เน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกัน
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องนั้นสามารถสรุปได้ 3 ทฤษฎีหลักๆดังนี้
1. ทฤษฎีกระบวนการกลุ่ม เป็นเรื่องของการทำงานของกลุ่มคน ทฤษฎีนี้มุ่งศึกษาถึงเรื่องธรรมชาติของคน พฤติกรรมของคน ธรรมชาติของกลุ่ม
2. ทฤษฎีด้านสติปัญญา สนับสนุนว่าการเรียนแบบร่วมมือเป็นวิธีการเรียนที่แบ่งปันประสบการณ์ของแต่ละบุคคลไปสู่กลุ่ม
3.  ทฤษฎีเสริมแรงของสกินเนอร์ ถ้าต้องการให้ Operant Behavior คงอยู่ต่อไป จำเป็นต้องให้แรงเสริม 


ที่มา

รังสิมา วงษ์ตระกูล. (2553). https://www.gotoknow.org/posts/401180[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 22                         กรกฎาคม 2561.

เลิศชาย ปานมุข. (2558). http://www.lertchaimaster.com/forum/index.php?topic=36.0. [ออนไลน์] เข้าถึง               เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2561.

สยุมพร ศรีมุงคุณ. (2555). https://www.gotoknow.org/posts/341272. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 22                           กรกฎาคม 2561.


No comments:

Post a Comment

นวัตกรรมและสื่อการสอนคณิตศาสตร์

นวัตกรรมและสื่อการสอนคณิตศาสตร์ จุ ฑาทิพ ดีละม้าย     ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า ความหมายของ "นวัตกรรมการศึกษา"      ...