Tuesday, July 24, 2018

เทคนิคการสอน

เทคนิคการสอน 
          
          กอบวิทย์ พิริยะวัฒน์ (2553) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า เทคนิคการสอนมีดังนี้

1. เทคนิคผึ้งแตกรัง
2. เทคนิคโครงงาน
3. เทคนิคแรลลี่เพื่อการเรียนรู้
4. เทคนิคการมีส่วนร่วม
5. เทคนิคภาพความคิดของฉัน
6. เทคนิคสายธารแห่งการเรียนรู้
7. เทคนิคกระบวนการพัฒนาทักษะ
8. เทคนิคแอบดูของเพื่อน
9. เทคนิคกระบวนการ PAR
10. เทคนิคกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา
11. เทคนิคกระบวนการแก้ปัญหา
12. เทคนิคกระบวนการสืบสวนสอบสวน
13. เทคนิคการสอนเขียนโดยกระบวนการลูกเต๋า
14. เทคนิคเพื่อนคู่คิดมิตรคู่ใจ
15. เทคนิคซินดิเคท
16. เทคนิคกลุ่มสัมพันธ์
17. เทคนิคการสร้างความตระหนัก
18. เทคนิคการสร้างความรู้ความเข้าใจ
19. เทคนิคกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
20. เทคนิคกระบวนการปฏิบัติ
21. เทคนิคการแก้โจทย์ปัญหา
22. เทคนิคกระบวนการทางภาษา
23. เทคนิคกระบวนการเรียนรู้แบบคลีนิค
24. เทคนิคทักษะกระบวนการ 9 ขั้น
25. เทคนิคกระบวนการให้ผู้เรียนสร้างหลักสูตร
26. เทคนิคร่วมกันเรียนรู้
27. เทคนิคสรรค์สร้างความรู้       

          ณฐมน เพ็ญแนวคำ (2551) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า คุณภาพของผู้เรียนนั้นนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง เช่น ความพร้อม สติปัญญา เจตคติ และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ แล้ว กระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้ก็นับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ เข้าใจในสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนรู้นั้น นับว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ดังนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงต่อการส่งเสริมให้ผู้สอนได้เห็นแนวทางในการสอนให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ความรู้เรื่อง เทคนิคการสอนแนวใหม่จึงมีความจำเป็นที่ผู้สอนควรจะศึกษาเพื่อจะเป็น “ ผู้สอนใน ยุคโลกาภิวัตน์ ”

เทคนิคการสอนแนวใหม่ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน และใช้ได้ผล ประกอบด้วยเทคนิค การสอนดังต่อไปนี้

1. วิธีสอนแบบทำงานรับผิดชอบร่วมกัน ( Co – operative Leanning )
2. วิธีสอนแบบระดมพลังสมอง ( Brainstorming )
3 .วิธีการสอนโดยการลงมือปฏิบัติ ( Practice )
4. วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง ( Simulation )
5. วิธีสอนแบบสาธิต ( Demonstration Method )
6. วิธีสอนแบบโครงการ ( Project Method )
7. เทคนิคการอภิปรายแบบอ่างปลา
8. วิธีสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง
9. วิธีสอนโดยใช้เกม

          อดิศักดิ์ มหาวรรณ (2556) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2540 ; 106-134 จากการรวบรวมงานวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ พบว่าเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ในประเทศไทยที่ค้นพบมี 47 วิธี ดังนี้

1. วิธีสอนแบบเวทคณิต (Vedic Mathematics)
2. วิธีสอนแบบวรรณี
3. วิธีสอนด้วยกระบวนการสอนแบบเรียนเพื่อรู้แจ้ง
4. วิธีสอนแบบสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ
5. วิธีสอนแบบอุปมาร
6. วิธีสอนแบบอุปมาน
7. วิธีสอนตามระเบียบขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์
8. วิธีสอนแบบแก้ปัญหา
9. วิธีสอนแบบเทคนิค 4 คำถาม
10. วิธีสอนแบบพัฒนารายบุคคล
11. วิธีสอนแบบค้นพบในกลุ่มย่อย
12. วิธีสอนที่มีกระบวนการสร้างความคิดรอบยอด
13. วิธีสอนการแก้ปัญหาแบบ 5 ขั้น
14. วิธีฝึกพัฒนาทักษะการบวกเลขในใจ
15. วิธีสอนแบบให้ตัวอย่างถูกต้องและตัวอย่างผิด กับการให้ตัวอย่างผิดกับตัวอย่างถูกอย่างเดียว
16. วิธีสอนแก้ปัญหาโจทย์
17. วิธีสอนแบบแผนผังต้นไม้ 5 ลำดับขั้นตอน
18. วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (STAD)
19. วิธีสอนแบบการสอนที่พัฒนามาจากสุลัดดาและคณะ
20. วิธีสอนโดยวิธีค้นพบ
21. วิธีสอนแบบจัดมโนมติล่วงหน้า
22. วิธีสอนแบบสอดแทรกมโนทัศน์ทางจริยธรรม
23. วิธีสอนตามลำดับขั้นการเรียนรู้
24. วิธีสอนแบบเรียนปนเล่น
25. วิธีสอนแบบดอลเซียนี
26. วิธีสอนแบบ สสวท.
27. วิธีสอนตามเทคนิคการสอนของสตีฟ
28. วิธีสอนแบบวิเคราะห์
29. วิธีสอนของนุชุม
30. วิธีสอนแบบการเรียนแบบสืบสวน – สอบสวน
31. วิธีสอนตามกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาของเลนฮาร์ทและกรีโน
32. วิธีสอนตามกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา
33. วิธีสอนโดยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์
34. วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง
35. วิธีสอนแบบกลุ่มยอย
36. วิธีสอนแบบการเรียนแบบร่วมมือ
37. วิธีสอนโดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านไทยแบบประยุกต์
38. วิธีสอนโดยใช้เพลง
39. วิธีสอนโดยใช้การกำบังตน
40. วิธีสอนโดยใช้กลุ่มพลังเล็กๆ
41. วิธีสอนโดยบทเรียนโปรแกรมประกอบเครื่องสอนอย่างง่าย
42. วิธีสอนโดยใช้ชุดการคิดคำนวณ
43. วิธีสอนโดยการใช้มิติสัมพันธ์
44. วิธีสอนโดยการทำแบบฝึกหัดคิดเลขเร็วเสริมบทเรียน
45. วิธีสอนโดยเทคนิคเติมศูนย์ที่บัตรผลคูณ
46. วิธีสอนโดยใช้เกม และบัตรงานเสริมการเรียน
47. วิธีสอนโดยใช้บทเรียนที่มีสื่อประสม
       

          สรุป เทคนิคการสอนมีดังนี้

1. วิธีสอนแบบเวทคณิต (Vedic Mathematics)
2. วิธีสอนแบบวรรณี
3. วิธีสอนด้วยกระบวนการสอนแบบเรียนเพื่อรู้แจ้ง
4. วิธีสอนแบบสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ
5. วิธีสอนแบบอุปมาร
6. วิธีสอนแบบอุปมาน
7. วิธีสอนตามระเบียบขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์
8. วิธีสอนแบบแก้ปัญหา
9. วิธีสอนแบบเทคนิค 4 คำถาม
10. วิธีสอนแบบพัฒนารายบุคคล
11. วิธีสอนแบบค้นพบในกลุ่มย่อย
12. วิธีสอนที่มีกระบวนการสร้างความคิดรอบยอด
13. วิธีสอนการแก้ปัญหาแบบ 5 ขั้น
14. วิธีฝึกพัฒนาทักษะการบวกเลขในใจ
15. วิธีสอนแบบให้ตัวอย่างถูกต้องและตัวอย่างผิด กับการให้ตัวอย่างผิดกับตัวอย่างถูกอย่างเดียว
16. วิธีสอนแก้ปัญหาโจทย์
17. วิธีสอนแบบแผนผังต้นไม้ 5 ลำดับขั้นตอน
18. วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (STAD)
19. วิธีสอนแบบการสอนที่พัฒนามาจากสุลัดดาและคณะ
20. วิธีสอนโดยวิธีค้นพบ
21. วิธีสอนแบบจัดมโนมติล่วงหน้า
22. วิธีสอนแบบสอดแทรกมโนทัศน์ทางจริยธรรม
23. วิธีสอนตามลำดับขั้นการเรียนรู้
24. วิธีสอนแบบเรียนปนเล่น
25. วิธีสอนแบบดอลเซียนี
26. วิธีสอนแบบ สสวท.
27. วิธีสอนตามเทคนิคการสอนของสตีฟ
28. วิธีสอนแบบวิเคราะห์
29. วิธีสอนของนุชุม
30. วิธีสอนแบบการเรียนแบบสืบสวน – สอบสวน
31. วิธีสอนตามกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาของเลนฮาร์ทและกรีโน
32. วิธีสอนตามกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา
33. วิธีสอนโดยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์
34. วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง
35. วิธีสอนแบบกลุ่มยอย
36. วิธีสอนแบบการเรียนแบบร่วมมือ
37. วิธีสอนโดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านไทยแบบประยุกต์
38. วิธีสอนโดยใช้เพลง
39. วิธีสอนโดยใช้การกำบังตน
40. วิธีสอนโดยใช้กลุ่มพลังเล็กๆ
41. วิธีสอนโดยบทเรียนโปรแกรมประกอบเครื่องสอนอย่างง่าย
42. วิธีสอนโดยใช้ชุดการคิดคำนวณ
43. วิธีสอนโดยการใช้มิติสัมพันธ์
44. วิธีสอนโดยการทำแบบฝึกหัดคิดเลขเร็วเสริมบทเรียน
45. วิธีสอนโดยเทคนิคเติมศูนย์ที่บัตรผลคูณ
46. วิธีสอนโดยใช้เกม และบัตรงานเสริมการเรียน
47. วิธีสอนโดยใช้บทเรียนที่มีสื่อประสม
48. เทคนิคผึ้งแตกรัง
49. เทคนิคโครงงาน
50. เทคนิคแรลลี่เพื่อการเรียนรู้
51. เทคนิคการมีส่วนร่วม
52. เทคนิคภาพความคิดของฉัน
53. เทคนิคสายธารแห่งการเรียนรู้
54. เทคนิคกระบวนการพัฒนาทักษะ
55. เทคนิคแอบดูของเพื่อน
56. เทคนิคกระบวนการ PAR
57. เทคนิคการสอนเขียนโดยกระบวนการลูกเต๋า
58. เทคนิคเพื่อนคู่คิดมิตรคู่ใจ
59. เทคนิคซินดิเคท
60. เทคนิคการสร้างความตระหนัก
61. เทคนิคการสร้างความรู้ความเข้าใจ
62. เทคนิคการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
63. เทคนิคกระบวนการปฏิบัติ
64. เทคนิคกระบวนการทางภาษา
65. เทคนิคกระบวนการเรียรู้แบบคลีนิก
66. เทคนิคกระบวนการ 9 ขั้น
67. เทคนิคกระบวนการให้ผู้เรียนสร้างหลักสูตร
68. เทคนิคสรรค์สร้างความรู้
69. วิธีสอนแบบทำงานรับผิดชอบร่วมกัน ( Co – operative Leanning )
70. วิธีสอนแบบระดมพลังสมอง ( Brainstorming )
71. วิธีสอนแบบสาธิต ( Demonstration Method )
72. เทคนิคการอภิปรายแบบอ่างปลา
73. วิธีสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง


    

ที่มา

กอบวิทย์ พิริยะวัฒน์. (2553). https://www.slideshare.net/teacherkobwit/30-4068902?next_slideshow=1.                 [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2561.

ณฐมน เพ็ญแนวคำ. (2551). https://www.gotoknow.org/posts/217786. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 25                             กรกฎาคม 2561.

อดิศักดิ์ มหาวรรณ. (2556). https://sites.google.com/a/web1.dara.ac.th/daramath/sara-na-ru-                                   khnitsastr/5thekhnikhkarsxnkhnitsastrniprathesthiy. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2561.




Sunday, July 22, 2018

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning) 

          รังสิมา วงษ์ตระกูล (2553) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ หมายถึง กระบวนการการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนได้ร่วมมือและช่วยเหลือกันในการเรียนรู้โดยแบ่งกลุ่มผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกันออกเป็นกลุ่มเล็กๆ ซึ่งเป็นลักษณะการรวมกลุ่มอย่างมีโครงสร้างที่ชัดเจน มีการทำงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งในส่วนตนและส่วนรวม เพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องนั้นสามารถสรุปได้ 3 ทฤษฎีหลักๆดังนี้

1. ทฤษฎีกระบวนการกลุ่ม

          กระบวนการกลุ่มเป็นเรื่องของการทำงานของกลุ่มคน  ทฤษฎีด้านนี้มุ่งศึกษาเพื่อหาความรู้ที่จะนำไปใช้ในการปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงทัศนคติ และพฤติกรรมของคน อันจะเป็นประโยชน์ในด้านการสร้างเสริมความสัมพันธ์ และปรับปรุงการทำงานของกลุ่มให้มีประสิทธิภาพ เนื้อหาของทฤษฎีนี้จึงมุ่งศึกษาถึงเรื่องธรรมชาติของคน พฤติกรรมของคน  ธรรมชาติของกลุ่ม

2. ทฤษฎีด้านสติปัญญา

          Sutton กล่าวว่า ทฤษฎีด้านสติปัญญา สนับสนุนว่าการเรียนแบบร่วมมือเป็นวิธีการเรียนที่แบ่งปันประสบการณ์ของแต่ละบุคคลไปสู่กลุ่ม ซึ่งจะช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งนักเรียนที่เรียนเก่ง และนักเรียนที่เรียนช้า  เพราะนักเรียนที่เรียนเก่งจะได้รับประโยชน์ในการเรียนรู้ยิ่งขึ้นในการที่ตนเองได้อธิบาย  ชี้แจง  บทเรียนให้กับเพื่อน  ในขณะที่นักเรียนที่มีสติปัญญาต่ำ เรียนรู้ได้ช้า  ได้ประโยชน์จากการที่ได้แหล่งความรู้ที่มีค่าจากเพื่อนอีกแห่งนอกเหนือจากการสอน  นอกจากนี้การที่นักเรียนได้ทำงานร่วมกันทำให้เกิดความสนุกสนาน  ความอบอุ่น  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  การพัฒนาทักษะทางสังคม  พัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักเรียนกับกลุ่มเพื่อน

          Piaget  กล่าวว่า การปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนในวัยเดียวกันเป็นสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม  ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ความคิดรวบยอดที่ต้องการเรียนได้อย่างดี

3.  ทฤษฎีเสริมแรงของสกินเนอร์

          สกินเนอร์  กล่าวว่า  พฤติกรรมส่วนมากของมนุษย์เป็นพฤติกรรม Operant Behavior ซึ่งสิ่งมีชีวิต (Organism) ทั้งคนและสัตว์เป็นผู้เริ่มที่จะกระทำต่อ (Operant) สิ่งแวดล้อมของตนเองดังนั้นการเรียนรู้แบบนี้บางครั้งเรียกว่า Instrumental Conditioning สกินเนอร์พบว่าถ้าต้องการให้ Operant Behavior คงอยู่ต่อไป จำเป็นต้องให้แรงเสริม สกินเนอร์ได้แบ่งแรงเสริมออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. แรงเสริมบวก (Positive Reinforcement) หมายถึง  สิ่งของ คำพูด หรือสภาพการณ์ที่จะช่วยให้แสดงพฤติกรรมโอเปอแรนต์เกิดขึ้นอีก หรือสิ่งทำให้เพิ่มความน่าจะเป็นไปได้(Probability) ของการเกิดพฤติกรรมโอเปอแรนต์

2. แรงเสริมลบ (Negative Reinforcement)  หมายถึง การเปลี่ยนสภาพการณ์หรือเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมบางอย่างอาจจะทำให้แสดงพฤติกรรมโอเปอแรนต์ได้ บางครั้งนักจิตวิทยาเรียกการเสริมแรงทางลบว่า Escape Conditioning

          สกินเนอร์มีความเชื่อมั่นว่า แรงเสริมเป็นตัวแปรสำคัญในการเปลี่ยนพฤติกรรม หรือการเรียนรู้ของนักเรียน

          เลิศชาย ปานมุข (2558) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 - 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้

          สยุมพร ศรีมุงคุณ (2555) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้ มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด มีการสัมพันธ์กัน มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่ หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกในกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่ม

          สรุป แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกัน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม เน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกัน
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องนั้นสามารถสรุปได้ 3 ทฤษฎีหลักๆดังนี้
1. ทฤษฎีกระบวนการกลุ่ม เป็นเรื่องของการทำงานของกลุ่มคน ทฤษฎีนี้มุ่งศึกษาถึงเรื่องธรรมชาติของคน พฤติกรรมของคน ธรรมชาติของกลุ่ม
2. ทฤษฎีด้านสติปัญญา สนับสนุนว่าการเรียนแบบร่วมมือเป็นวิธีการเรียนที่แบ่งปันประสบการณ์ของแต่ละบุคคลไปสู่กลุ่ม
3.  ทฤษฎีเสริมแรงของสกินเนอร์ ถ้าต้องการให้ Operant Behavior คงอยู่ต่อไป จำเป็นต้องให้แรงเสริม 


ที่มา

รังสิมา วงษ์ตระกูล. (2553). https://www.gotoknow.org/posts/401180[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 22                         กรกฎาคม 2561.

เลิศชาย ปานมุข. (2558). http://www.lertchaimaster.com/forum/index.php?topic=36.0. [ออนไลน์] เข้าถึง               เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2561.

สยุมพร ศรีมุงคุณ. (2555). https://www.gotoknow.org/posts/341272. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 22                           กรกฎาคม 2561.


ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)

          ชุติมา สดเจริญ (2556) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า หลักการการเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองด้วยตนเองของผู้เรียน ผู้เรียนที่มีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะได้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรม การสร้างความรู้ในตนเองของผู้เรียน เกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้น จะเป็นความรู้ที่มีความหมายต่อผู้เรียน มีความคงทน ไม่ลืมง่าย และสามารถถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจความคิดของตนเองได้ดี ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้น จะเป็นฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด


           เลิศชาย ปานมุข (2558) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น     


           สยุมพร ศรีมุงคุณ (2555) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การประเมินตนเอง การประเมินโดยครูและเพื่อน การสังเกต การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน

    
           สรุป แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองซึ่งจะเป็นความรู้ที่มีความหมายต่อผู้เรียน มีความคงทน หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น



ที่มา

ชุติมา สดเจริญ. (2556). https://www.gotoknow.org/posts/547007[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 22                              กรกฎาคม 2561.

เลิศชาย ปานมุข. (2558). http://www.lertchaimaster.com/forum/index.php?topic=36.0. [ออนไลน์] เข้าถึง              เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2561.


สยุมพร ศรีมุงคุณ. (2555). https://www.gotoknow.org/posts/341272. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 22                          กรกฎาคม 2561.


Saturday, July 21, 2018

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)

 ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)

          ชุติมา สดเจริญ (2556) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า แนวคิด Constructivism เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของความรู้ของมนุษย์ มีความหมายทั้งในเชิงจิตวิทยาและเชิงสังคมวิทยา ทฤษฎีด้านจิตวิทยา เริ่มต้นจาก Jean Piaget ซึ่งเสนอว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นกระบวนการส่วนบุคคลมีความเป็นอัตนัย Vygotsky ได้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลว่า เกิดจากการสื่อสารทางภาษากับบุคคลอื่น สำหรับด้านสังคมวิทยา Emile Durkheim และคณะ เชื่อว่าสภาพแวดล้อมทางสังคมมีผลต่อการเสริมสร้างความรู้ใหม่

          ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนว Constructivism จัดเป็นทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (cognitive psychology) มีรากฐานมาจากผลงานของ Ausubel และ Piaget

          ประเด็นสำคัญประการแรกของทฤษฎีการเรียนรู้ตาม Constructivism คือ ผู้เรียนเป็นผู้สร้าง (Construct) ความรู้จากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบเห็นกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม โดยใช้กระบวนการทางปัญญา(cognitive apparatus) ของตน

          ประเด็นสำคัญประการที่สองของทฤษฎี คือ การเรียนรู้ตามแนว Constructivism คือ โครงสร้างทางปัญญา เป็นผลของความพยายามทางความคิด ผู้เรียนสร้างเสริมความรู้ผ่านกระบวนการทางจิตวิทยาด้วยตนเอง ผู้สอนไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญาของผู้เรียนได้ แต่ผู้สอนสามารถช่วยผู้เรียนปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญาได้โดยจัดสภาพการณ์ที่ทำให้เกิดภาวะไม่สมดุลขึ้น


          เลิศชาย ปานมุข (2558) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์  รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล  นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว  ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย  การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป


          สยุมพร ศรีมุงคุณ (2555) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้(process of knowledge construction)  

          เป้าหมายของการสอนจะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่แน่นอนตายตัวไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง โดยการให้ผู้เรียนอยู่ในบริบทจริง ในการจัดการเรียนการสอนครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรมให้เกิดขึ้น ผู้เรียนได้มีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่โดยผู้เรียนจะนำตนเองและควบคุมตนเองในการเรียนรู้  

          บทบาทของครูจะเป็นผู้ให้ความร่วมมือ อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ตามทฤษฏีนี้มีลักษณะที่ยืดหยุ่นกันไปในแต่ละบุคคล การประเมินควรใช้วิธีการที่หลากหลาย การวัดผลจะต้องใช้กิจกรรมหรืองานในบริบทจริงด้วย  ซึ่งในกรณีที่จำเป็นต้องจำลองของจริงมา ก็สามารถทำได้แต่เกณฑ์ที่ใช้ควรเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในโลกความจริงด้วย

       
          สรุป แนวคิด Constructivism เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของความรู้ของมนุษย์ มีรากฐานมาจากผลงานของ Ausubel และ Piaget หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้

ประเด็นสำคัญประการแรกของทฤษฎีการเรียนรู้ตาม Constructivism คือ ผู้เรียนเป็นผู้สร้าง ความรู้จากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบเห็นกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม โดยใช้กระบวนการทางปัญญาของตน

ประเด็นที่สอง คือ โครงสร้างทางปัญญา เป็นผลของความพยายามทางความคิด ผู้เรียนสร้างเสริมความรู้ผ่านกระบวนการทางจิตวิทยาด้วยตนเอง 



ที่มา

ชุติมา สดเจริญ. (2556). https://www.gotoknow.org/posts/547007[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 22                              กรกฎาคม 2561.

เลิศชาย ปานมุข. (2558). http://www.lertchaimaster.com/forum/index.php?topic=36.0. [ออนไลน์] เข้าถึง              เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2561.

สยุมพร ศรีมุงคุณ. (2555). https://www.gotoknow.org/posts/341272. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 22                          กรกฎาคม 2561.


ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)

ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)

           ชุติมา สดเจริญ (2556) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า การจะบอกว่าเด็กคนหนึ่งฉลาด หรือมีความสามารถมากน้อยเพียงใด ถ้าเรานำระดับสติปัญญาหรือไอคิว ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมาเป็นมาตรวัด ก็อาจได้ผลเพียงเสี้ยวเดียว เพราะว่าวัดได้เพียงเรื่องของภาษา ตรรกศาสตร์ คณิตศาสตร์ และมิติสัมพันธ์เพียงบางส่วนเท่านั้น ยังมีความสามารถอีกหลายด้านที่แบบทดสอบในปัจจุบันไม่สามารถวัดได้ครอบคลุมถึง เช่น เรื่องของความสามารถทางดนตรี ความสามารถทางกีฬา และความสามารถทางศิลปะ เป็นต้น

          ศาสตราจารย์โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) นักจิตวิทยา มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด เป็นผู้หนึ่งที่พยายามอธิบายให้เห็นถึงความสามารถที่หลากหลาย โดยคิดเป็น “ ทฤษฎีพหุปัญญา ” (Theory of Multiple Intelligences) เสนอแนวคิดว่า สติปัญญาของมนุษย์มีหลายด้านที่มีความสำคัญเท่าเทียมกัน ขึ้นอยู่กับว่าใครจะโดดเด่นในด้านไหนบ้าง แล้วแต่ละด้านผสมผสานกัน แสดงออกมาเป็นความสามารถในเรื่องใด เป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคนไป

          ในปี พ.ศ. 2526 การ์ดเนอร์ ได้เสนอว่าปัญญาของมนุษย์มีอยู่อย่างน้อย 7 ด้าน คือ ด้านภาษา ด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านดนตรี ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านการเข้าใจตนเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้เพิ่มเติมเข้ามาอีก 1 ด้าน คือ ด้านธรรมชาติวิทยา เพื่อให้สามารถอธิบายได้ครอบคลุมมากขึ้น จึงสรุปได้ว่า พหุปัญญา ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ ในปัจจุบันมีปัญญาอยู่อย่างน้อย 8 ด้าน ดังนี้

1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
คือ ความสามารถในการใช้ภาษารูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ภาษาพื้นเมือง จนถึงภาษาอื่นๆ ด้วย สามารถรับรู้ เข้าใจภาษา และสามารถสื่อภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามที่ต้องการ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น กวี นักเขียน นักพูด นักหนังสือพิมพ์ ครู ทนายความ หรือนักการเมือง

2. ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical Intelligence)
คือ ความสามารถในการคิดแบบมีเหตุและผล การคิดเชิงนามธรรม การคิดคาดการณ์ และการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น นักบัญชี นักสถิติ นักคณิตศาสตร์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักเขียนโปรแกรม หรือวิศวกร

3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial Intelligence)
คือ ความสามารถในการรับรู้ทางสายตาได้ดี สามารถมองเห็นพื้นที่ รูปทรง ระยะทาง และตำแหน่ง อย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน แล้วถ่ายทอดแสดงออกอย่างกลมกลืน มีความไวต่อการรับรู้ในเรื่องทิศทาง สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น จะมีทั้งสายวิทย์ และสายศิลป์
สายวิทย์ ก็มักเป็น นักประดิษฐ์ วิศวกร ส่วนสายศิลป์ ก็มักเป็นศิลปินในแขนงต่างๆ เช่น จิตรกร วาดรูป ระบายสี เขียนการ์ตูน นักปั้น นักออกแบบ ช่างภาพ หรือสถาปนิก เป็นต้น

4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic Intelligence)
คือ ความสามารถในการควบคุมและแสดงออกซึ่งความคิด ความรู้สึก โดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงความสามารถในการใช้มือประดิษฐ์ ความคล่องแคล่ว ความแข็งแรง ความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น ความประณีต และความไวทางประสาทสัมผัส สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักกีฬา หรือไม่ก็ศิลปินในแขนง นักแสดง นักฟ้อน นักเต้น นักบัลเล่ย์ หรือนักแสดงกายกรรม

5. ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)
คือ ความสามารถในการซึมซับ และเข้าถึงสุนทรียะทางดนตรี ทั้งการได้ยิน การรับรู้ การจดจำ และการแต่งเพลง สามารถจดจำจังหวะ ทำนอง และโครงสร้างทางดนตรีได้ดี และถ่ายทอดออกมาโดยการฮัมเพลง เคาะจังหวะ เล่นดนตรี และร้องเพลง สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักดนตรี นักประพันธ์เพลง หรือนักร้อง

6. ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence)
คือ ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น ทั้งด้านความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และเจตนาที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน มีความไวในการสังเกต สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง สามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสม สร้างมิตรภาพได้ง่าย เจรจาต่อรอง ลดความขัดแย้ง สามารถจูงใจผู้อื่นได้ดี เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคน แต่สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นครูบาอาจารย์ ผู้ให้คำปรึกษา นักการฑูต เซลแมน พนักงานขายตรง พนักงานต้อนรับ ประชาสัมพันธ์ นักการเมือง หรือนักธุรกิจ

7. ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)
คือ ความสามารถในการรู้จัก ตระหนักรู้ในตนเอง สามารถเท่าทันตนเอง ควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมตามกาลเทศะ และสถานการณ์ รู้ว่าเมื่อไหร่ควรเผชิญหน้า เมื่อไหร่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อไหร่ต้องขอความช่วยเหลือ มองภาพตนเองตามความเป็นจริง รู้ถึงจุดอ่อน หรือข้อบกพร่องของตนเอง ในขณะเดียวกันก็รู้ว่าตนมีจุดแข็ง หรือความสามารถในเรื่องใด
มีความรู้เท่าทันอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความคาดหวัง ความปรารถนา และตัวตนของตนเองอย่างแท้จริง เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคนเช่นกัน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า และมีความสุข สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักคิด นักปรัชญา หรือนักวิจัย

8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence)
คือ ความสามารถในการรู้จัก และเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เข้าใจกฎเกณฑ์ ปรากฏการณ์ และการรังสรรค์ต่างๆ ของธรรมชาติ มีความไวในการสังเกต เพื่อคาดการณ์ความเป็นไปของธรรมชาติ มีความสามารถในการจัดจำแนก แยกแยะประเภทของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักธรณีวิทยา นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย หรือนักสำรวจธรรมชาติ

          ทฤษฎีนี้ได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายในกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเน้นความสำคัญใน 3 เรื่องหลัก ดังนี้

1. แต่ละคนควรได้รับการส่งเสริมให้ใช้ปัญญาด้านที่ถนัด เป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้

2. ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ควรมีรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้สอดรับกับปัญญาที่มีอยู่หลายด้าน

3. ในการประเมินการเรียนรู้ ควรวัดจากเครื่องมือที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถครอบคลุมปัญญาในแต่ละด้าน

          ทฤษฎีพหุปัญญา ของการ์ดเนอร์ ชี้ให้เห็นถึงความหลากหลายทางปัญญาของมนุษย์ ซึ่งมีหลายด้าน หลายมุม แต่ละด้านก็มีความอิสระในการพัฒนาตัวของมันเองให้เจริญงอกงาม ในขณะเดียวกันก็มีการบูรณาการเข้าด้วยกัน เติมเต็มซึ่งกันและกัน แสดงออกเป็นเอกลักษณ์ทางปัญญาของมนุษย์แต่ละคน คนหนึ่งอาจเก่งเพียงด้านเดียว หรือเก่งหลายด้าน หรืออาจไม่เก่งเลยสักด้าน แต่ที่ชัดเจน คือ แต่ละคนมักมีปัญญาด้านใดด้านหนึ่งโดดเด่นกว่าเสมอ ไม่มีใครที่มีปัญญาทุกด้านเท่ากันหมด หรือไม่มีเลยสักด้านเดียว นับเป็นทฤษฎีที่ช่วยจุดประกายความหวัง เปิดกระบวนทัศน์ใหม่ในการศึกษาด้านสติปัญญาของมนุษย์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ทั้งในกลุ่มเด็กปกติ เด็กที่มีความบกพร่อง และเด็กที่มีความสามารถพิเศษ


          ระวิวรรณ ศรีคร้ามครัน (2552 : 48) ได้กล่าวไว้ว่า เนื่องจากผู้เรียนมีความสารถในด้านการเรียนรู้ ความคิด สติปัญญาและทักษะที่แตกต่างกัน การ์ดเนอร์ได้ศึกษาลักษณะพัฒนาการการเรียนรู้ของมนุษย์ทางด้านสติปัญญา ความคิด และทักษะโดยแบ่งความสามารถของมนุษย์แต่ละคนในการเรียนรู้ออกเป็น 8 ส่วน เรียกว่า พหุปัญญา ( multiple intelligences) ประกอบด้วย
1. ความสามารถด้านการใช้ภาษา (Linguistic Intelligence)
2. ความสามารถในทางคณิตศาสตร์ (Logical mathematical intelligence)  
3. ความสามารถในการนึก คิด และจินตนาการ (Spatial intelligence) 
4. ความสามารถในด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย (Bodily kinesthetic intelligence)
5. ความสามารถในด้านดนตรี (Musical intelligence)
6. ความสามารถที่จะสนใจและเข้าใจผู้อื่น (Interpersonal intelligence)
7. ความสามารถที่จะสร้างแนวคิดและความเข้าใจให้แก่ตนเอง (Intrapersonal intelligence)
8. ความสามารถในการสังเกตและเข้าใจรูปแบบหรือลักษณะของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Naturalist intelligence)


          สยุมพร ศรีมุงคุณ (2555) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ  2  ประการ คือ

  1.  เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน  ประกอบด้วย   

1.1 เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)

1.2 เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical mathematical intelligence)  

1.3 เชาวน์ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence) 

1.4 เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)

1.5 เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily kinesthetic intelligence)

1.6 เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal intelligence)

1.7 เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)

1.8 เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)

          เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้  คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น  และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน  ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมา  ทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน

  2.   เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้  หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม

          หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลายๆ ด้าน  ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน  การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียน  ครูควรสอนโดยเน้นให้ผู้เรียนค้นหาเอกลักษณ์ของตน  ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของตนเอง  และเคารพในเอกลักษณ์ของผู้อื่น รวมทั้งเห็นคุณค่าและเรียนรู้ที่จะใช้ความแตกต่างของแต่ละบุคคลให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม  ระบบการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินหลายๆ ด้าน  และในแต่ละด้านควรเป็นการประเมินในสภาพการณ์ของปัญหาที่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยอุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ  การประเมินจะต้องครอบคลุมความสามารถในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้อุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ อีกวิธีหนึ่ง


          สรุป ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ  2  ประการ คือ
1.  เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน  ประกอบด้วย   
1.1 เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)
1.2 เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical mathematical intelligence)  
1.3 เชาวน์ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence) 
1.4 เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
1.5 เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily kinesthetic intelligence)
1.6 เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal intelligence)
1.7 เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
1.8 เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)

2.   เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้  หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม



ที่มา

ชุติมา สดเจริญ. (2556). https://www.gotoknow.org/posts/547007[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 22                              กรกฎาคม 2561.

ระวิวรรณ ศรีคร้ามครัน. (2552). เทคนิคการสอน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สยุมพร ศรีมุงคุณ. (2555). https://www.gotoknow.org/posts/341272. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 22                          กรกฎาคม 2561.






ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory)

  ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory)

          ชุติมา สดเจริญ (2556) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลผลข้อมูล เป็นทฤษฎีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ เกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฎีเริ่มได้รับความนิยมมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 จนถึงปัจจุบัน มีชื่อในภาษาไทยหลายชื่อ เช่น ทฤษฎีประมวลสารข้อมูลข่าวสาร ทฤษฎีการประมวลผลข้อมูลสารสนเทศ ในที่นี้ จะใช้เรียกว่าทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล

แนวคิดของทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล

          การทำงานของสมองมีความคล้ายคลึงกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ คลอสเมียร์ (Klausmeier,1985:108) ได้อธิบายการเรียนรู้ของมนุษย์โดยเปรียบเทียบการทำงานของคอมพิวเตอร์กับการทำงานของสมอง ซึ่งมีการทำงานเป็นขั้นตอนดังนี้ คือ
1.การรับข้อมูล (Input) โดยผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องรับข้อมูล
2.การเข้ารหัส (Encoding) โดยอาศัยชุดคำสั่งหรือซอฟต์แวร์ (Software)
3.การส่งข้อมูลออก (Output) โดยผ่านทางอุปกรณ์

          คลอสเมียร์ (Klausmeier,1985:105) ได้อธิบายการประมวลผลข้อมูลโดยเริ่มต้นจากการที่มนุษย์รับสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 สิ่งเร้าที่เข้ามาจะได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น ซึ่งการบันทึกนี้จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการ คือ การรู้จัก(Recognition) และความสนใจ (Atention) ของบุคคลที่รับสิ่งเร้า บุคคลจะเลือกรับสิ่งเร้าที่ตนรู้จักหรือมีความสนใจ สิ่งเร้านั้นจะได้รับการบันทึกลงในความจำระยะสั้น (Short-Term Memory)ซึ่งดำรงคงอยู่ในระยะเวลาที่จำกัดมาก แต่ละบุคคลมีความสามารถในการจำระยะสั้นที่จำกัด ในการทำงานที่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลไว้ใช้ชั่วคราว อาจจำเป็นต้องใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการช่วยจำ เช่น การจัดกลุ่มคำ หรือการท่องซ้ำ ๆ ซึ่งจะสามารถช่วยให้จดจำไว้ใช้งานได้ การเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง สามารถทำได้โดยข้อมูลนั้นจำเป็นต้องได้รับการประมวลและเปลี่ยนรูปโดยการเข้ารหัส (Encoding) เพื่อนำไปเก็บไว้ในความจำระยะยาว (Long Term Memory) ซึ่งอาจต้องใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น การท่องซ้ำหลาย ๆ ครั้ง หรือการทำข้อมูลให้มีความหมายกับตนเอง โดยการสัมพันธ์สิ่งที่เรียนรู้สิ่งใหม่กับสิ่งเก่าที่เคยเรียนรู้มาก่อน ซึ่งเรียกว่า เป็นกระบวนการขยายความคิด (Elaborative Operations Process)ความจำระยะยาวนี้มี 2 ชนิด คือ ความจำที่เกี่ยวกับภาษา (Semantic) และความจำที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ (Affective Memory) เมื่อข้อมูลข่าวสารได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะยาวแล้ว บุคคลจะสามารถเรียกข้อมูลต่าง ๆ ออกมาใช้ได้ ซึ่งในการเรียกข้อมูลออกมาใช้ บุคคลจำเป็นต้องถอดรหัสข้อมูล (Decoding) จากความจำระยะยาว และส่งต่อไปสู่ตัวก่อกำเนิดพฤติกรรมตอบสนอง ซึ่งจะเป็นแรงขับหรือกระตุ้นให้บุคคลมีการเคลื่อนไหว หรือการพูดสนองตอบต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ 

           กระบวนการสมองในการประมวลข้อมูล หากเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์แล้ว ก็คือ โปรแกรมสั่งงาน หรือ “Software” การบริหารควบคุมการประมวลข้อมูลของสมองคือการที่บุคคลรู้ถึงการคิดของตนและสามารถควบคุมการคิดของตนให้เป็นไปในทางที่ตนต้องการรู้  เรียกว่า “Metacognition” หรือ “การรู้คิด” หมายถึง การตระหนักรู้ (Awareness)  เกี่ยวกับความรู้และความสามารถของตน และใช้ความเข้าใจในการรู้การจัดการควบคุมกระบวนการคิด ด้วยวิธีต่าง ๆ ช่วยให้การเรียนรู้และงานที่ทำประสบผลสำเร็จตามที่ต้องการ องค์ประกอบสำคัญของการรู้คิดที่ใช้ในการบริหารควบคุมกระบวนการประมวลข้อมูล ประกอบด้วยแรงจูงใจ ความตั้งใจ และความมุ่งหวังต่าง ๆ รวมทั้งเทคนิคและกลวิธีต่าง ๆกระบวนการรู้คิด ประกอบด้วย ความใส่ใจ (Attention)  การรับรู้ (Perception)กลวิธีต่าง ๆ (Strategies) เช่น รู้ว่าตนไม่สามารถจดจำสิ่งที่ครูสอนได้ เราคิดหากลวิธีต่าง ๆ ที่จะมาช่วยให้จดจำสิ่งที่เรียนได้มากขึ้น อาจใช้วิธีการท่อง การจดบันทึก การท่องจำเป็นกลอน การท่องตัวย่อ การทำรหัส การเชื่อมโยงในสิ่งที่สัมพันธ์กัน เป็นต้น


          เลิศชาย ปานมุข (2558) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์  โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง  ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า  การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์  


          สยุมพร ศรีมุงคุณ (2555) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory) เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง  ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน  สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ ได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส(encoding)  เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี  เช่น  การท่องจำซ้ำๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด


           สรุป ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลผลข้อมูล เป็นทฤษฎีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ เกี่ยวกับการทำงานของสมอง การทำงานของสมองมีความคล้ายคลึงกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ ได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส(encoding)  เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี  เช่น  การท่องจำซ้ำๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด


ที่มา

ชุติมา สดเจริญ. (2556). https://www.gotoknow.org/posts/547007[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 22                              กรกฎาคม 2561.

เลิศชาย ปานมุข. (2558). http://www.lertchaimaster.com/forum/index.php?topic=36.0. [ออนไลน์] เข้าถึง              เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2561.

สยุมพร ศรีมุงคุณ. (2555). https://www.gotoknow.org/posts/341272. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 22                          กรกฎาคม 2561.



         
          

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne’s eclecticism)

 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne’s eclecticism) 

          เลิศชาย ปานมุข (2558) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  ความรู้มีหลายประเภท  บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง  บางประเภทมีความซับซ้อนมาก  จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด 9  ขั้น  ดังนี้ 

ขั้นที่  1  สร้างความสนใจ(Gaining attention) 

ขั้นที่  2  แจ้งจุดประสงค์(Informing the learning) 

ขั้นที่  3  กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(Stimulating recall of prerequisite learned capabilities) 

ขั้นที่  4  เสนอบทเรียนใหม่(Presenting the stimulus) 

ขั้นที่  5  ให้แนวทางการเรียนรู้(Providing learning guidance) 

ขั้นที่  6  ให้ลงมือปฏิบัติ(Eliciting the performance) 

ขั้นที่  7  ให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback) 

ขั้นที่  8  ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์(Assessing the performance) 

ขั้นที่  9  ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้(Enhancing retention and transfer)          

          สยุมพร ศรีมุงคุณ (2555) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ ความรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง บางประเภทมีความซับซ้อนมาก จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  

การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด 9  ขั้น  ดังนี้  

 ขั้นที่  1  สร้างความสนใจ(Gaining attention)

 ขั้นที่  2  แจ้งจุดประสงค์(Informing the learning) 

 ขั้นที่  3  กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(Stimulating recall of prerequisite learned capabilities) 

 ขั้นที่  4  เสนอบทเรียนใหม่(Presenting the stimulus) 

 ขั้นที่  5  ให้แนวทางการเรียนรู้(Providing learning guidance) 

 ขั้นที่  6  ให้ลงมือปฏิบัติ(Eliciting the performance) 

 ขั้นที่  7  ให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback) 

 ขั้นที่  8  ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์(Assessing the performance) 

 ขั้นที่  9  ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้(Enhancing retention and transfer)

          สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา (2553) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า กานเย (Gagne) เป็นนักจิตวิทยาและนักการศึกษาในกลุ่มผสมผสานระหว่างพฤติกรรมนิยมกับพุทธนิยม (Behavior Cognitivist) เขาอาศัยทฤษฎีและหลักการที่หลากหลาย เนื่องจากความรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้งบางประเภทมีความซับซ้อนมาก จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง กานเยได้จัดขั้นการเรียนรู้ซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายาก โดยผสมผสานทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยม และพุทธนิยมเข้าด้วยกัน

การเรียนรู้ของกานเย (Gagne)

หลักการที่สำคัญของกานเย สรุปดั้งนี้ ((Gagne and Briggs,1974:121-136)

ทฤษฎีการเรียนรู้

1.กานเย (Gagne) ได้จัดประเภทของการเรียนรู้ เป็นลำดับขั้นจากง่ายไปหายากไว้ 8 ประเภท ดังนี้

1.1 การเรียนรู้สัญญาน(signal-learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นไปโดยอัติโนมัติ อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ ผู้เรียนไม่สามารถบังคับพฤติกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นได้ การเรียนรู้แบบนี้เกิดจากการที่คนเรานำเอาลักษณะการตอบสนองที่มีอยู่แล้วมาสัมพันธ์กับสิ่งเร้าใหม่ที่มีความใกล้ชิดกับสิ่งเร้าเดิม การเรียนรู้สัญญาน เป็นลักษณะการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขของพาฟลอฟ

1.2 การเรียนรู้สิ่งเร้า-การตอบสนอง(stimulus-response)เป็นการเรียนรู้ต่อเนื่องจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง แตกต่างจากการเรียนรู้สัญญาน เพราะผู้เรียนสามารถควบคุมพฤติกรรมตนเองได้ ผู้เรียนแสดงพฤติกรรม เนื่องจากได้รับแรงเสริม การเรียนรู้แบบนี้เป็นการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบเชื่อมโยงของธอร์นไคด์ และการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข (operant conditioning) ของสกินเนอร์ซึ่งเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ผู้เรียนเป็นผู้กระทำเองมิใช่รอให้สิ่งเร้าภายนอกมากระทำ พฤติกรรมที่แสดงออกเกิดจากสิ่งเร้าภายในของผู้เรียนเอง

1.3 การเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง (chaining) เป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองที่ต่อเนื่องกันตามลำดับ เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ การเคลื่อนไหว

1.4 การเชื่อมโยงทางภาษา (verbal association) เป็นการเรียนรู้ในลักษณะคล้ายกับการเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง แต่เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษา การเรียนรู้การรับสิ่งเร้า-การตอบสนอง เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้แบบต่อเนื่องและการเชื่อมโยงทางภาษา

1.5 การเรียนรู้ความแตกต่าง (discrimination learning) เป็นการเรียนรู้ที่ผสมผสานสามารถมองเห็นความแตกต่างของสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะความแตกต่างตามลักษณะของวัตถุ

1.6 การเรียนรู้ความคิดรวบยอด (concept learning) เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถจัดกลุ่มสิ่งเร้าที่มีความเหมือนหรือแตกต่างกัน โดยสามารถระบุลักษณะที่เหมือนหรือแตกต่างกันได้ พร้อมทั้งสามารถขยายความรู้ไปยังสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากที่เคยเห็นมาก่อนได้

1.7 การเรียนรู้กฎ (rule learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการรวมหรือเชื่อมโยงความคิดรวบยอดตั้งแต่สองอย่างขึ้นไป และตั้งเป็นกฎเกณฑ์ขึ้น การที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้กฎเกณฑ์จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำการเรียนรู้นั้นไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆกันได้

1.8 การเรียนรู้การแก้ปัญหา (problem solving) เป็นการเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหา โดยการนำกฎเกณฑ์ต่างๆ มาใช้ การเรียนรู้แบบนี้เป็นกระบวนการที่เกิดภายในตัวผู้เรียน เป็นการใช้กฎเกณฑ์ในขั้นสูงเพื่อการแก้ปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อน และสามารถนำกฎเกณฑ์ในการแก้ปัญหานี้ไปใช้กับสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันได้

2. กานเยได้แบ่งสมรรถภาพการเรียนรู้ของมนุษย์ไว้ 5 ประการ ดังนี้

2.1 สมรรถภาพในการเรียนรู้ข้อเท็จจริง (verbal information) เป็นความสามรถในการเรียนรู้ข้อเท็จจริงต่างๆ โดยอาศัยความจำและความสามารถระลึกได้

2.2 ทักษะเชาว์ปัญญา (intellectual skills) หรือทักษะทางสติปัญญา เป็นความสามารถในการใช้สมองคิดหาเหตุผล โดยใช้ข้อมูล ประสบการณ์ ความรู้ ความคิดในด้านต่างๆ นับตั้งแต่การเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นทักษะง่ายๆไปสู่ทักษะที่ยากสลับซับซ้อนมากขึ้น ทักษะเชาว์ปัญญาที่สำคัญที่ควรได้รับการฝึกคือ ความสามรถในการจำแนก (discrimination) ความสามารถในการคิดรวบยอดเป็นรูปธรรม (concrete concept) ความสามารถในการให้คำจำกัดความของความคิดรวบยอด (defined concept) ความสามารถในการเข้าใจกฎและใช้กฎ (rules) และความสามารถในการแก้ปัญหา (problem solving) 

2.3 ยุทธศาสตร์ในการคิด (cognitive strategies) เป็นความสามารถของกระบวนการทำงานภายในสมองของมนุษย์ ซึ่งควบคุมการเรียนรู้ การเลือกรับรู้ การแปลความ และการดึงความรู้ ความจำ ความเข้าใจ และประสบการณ์เดิมออกมาใช้ ผู้มียุทธศาสตร์ในการคิดสูง จะมีเทคนิค มีเคล็ดลับในการดึงความรู้ ความจำ ความเข้าใจ และประสบการณ์เดิมออกมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแก้ปัญหาที่มีสถานการณ์ที่แตกต่างได้อย่างดี รวมทั้งสามารถแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างสร้างสรรค์

2.4 ทักษะการเคลื่อนไหว (motor skills) เป็นความสามารถ ความชำนาญในการปฏิบัติหรือการใช้อวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายในการทำกิจกรรมต่างๆ ผู้ที่มีทักษะการเคลื่อนไหวที่ดีนั้น พฤติกรรมที่แสดงออกมาจะมีลักษณะรวดเร็ว คล่องแคล่ว และถูกต้องเหมาะสม

2.5 เจตคติ(attitudes) เป็นความรู้สึกนึกคิดของบุคคลที่มีต่อสิ่งต่างๆ ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจของบุคคลนั้นในการที่จะเลือกกระทำหรือไม่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

หลักการจัดการศึกษา/การสอน

1. กานเย ได้เสนอรูปแบบการสอนอย่างเป็นระบบโดยพยายามเชื่อมโยงการจัดสภาพการเรียนการสอนอันเป็นสภาวะภายนอกตัวผู้เรียนให้สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ภายใน ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในสมองของคนเรา กานเยอธิบายว่าการทำงานของสมองคล้ายกับการทำงานของคอมพิวเตอร์

2.ในระบบการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้นั้น กานเยได้เสนอระบบการสอน 9 ขั้น ดังนี้

ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ (gaining attention) เป็นขั้นที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในบทเรียน เป็นแรงจูงใจที่เกิดขึ้นทั้งสิ่งยั่วยุภายนอกและแรงจูงใจที่เกิดจากตัวผู้เรียนเองด้วย ครูอาจใช้วิธีการสนทนา ซักถาม ทายปัญหา หรือมีวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่กระตุ้นให้ผู้เรียนตื่นตัว และมีความสนใจที่จะเรียนรู้

ขั้นที่ 2 แจ้งจุดประสงค์ (informing the leaner of the objective) เป็นการบอกให้ผู้เรียนทราบถึงเป้าหมายหรือผลที่จะได้รับจาการเรียนบทเรียนนั้นโดยเฉพาะ เพื่อให้ผู้เรียนเห็นประโยชน์ในการเรียน เห็นแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนทำให้ผู้เรียนวางแผนการเรียนของตนเองได้ นอกจากนั้นยังสามารถช่วยให้ครูดำเนินการสอนตามแนวทางที่จะนำไปสู่จุดหมายได้เป็นอย่างดี

ขั้นที่ 3 กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(stimulating recall of prerequisite learned capabilites) เป็นการทบทวนความรู้เดิมที่จำเป็นต่อการเชื่อมโยงให้เกิดการเรียนรู้ความรู้ใหม่ เนื่องจากการเรียนรู้เป็นกระบวนการต่อเนื่อง การเรียนรู้ความรู้ใหม่ต้องอาศัยความรู้เก่าเป็นพื้นฐาน

ขั้นที่ 4 เสนอบทเรียนใหม่ (presenting the stimulus) เป็นการเริ่มกิจกรรมของบทเรียนใหม่โดยใช้วัสดุ อุปกรณ์ต่างๆที่เหมาะสมมาประกอบการสอน

ขั้นที่ 5 ให้แนวทางการเรียนรู้ (providing learning guidance) เป็นการช่วยให้ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมด้วยตนเอง ครูอาจแนะนำวิธีการทำกิจกรรม แนะนำแหล่งค้นคว้าเป็นการนำทาง ให้แนวทางให้ผู้เรียนไปคิดเอง เป็นต้น

ขั้นที่ 6 ให้ลงมือปฎิบัติ (elciting the performance) เป็นการให้ผู้เรียนลงมือปฎิบัติ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถแสดงพฤติกรรมตามจุดประสงค์

ขั้นที่ 7 ให้ข้อมูลย้อนกลับ(feedback) เป็นขั้นที่ครูให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการปฎิบัติกิจกรรมหรือพฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออกว่ามีความถูกต้องหรือไม่ อย่างไร และเพียงใด

ขั้นที่ 8 ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์(assessing the perfomance) เป็นขั้นการวัดและประเมินว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ของบทเรียนเพียงใด ซึ่งอาจวัดโดยการใช้ข้อสอบ แบบสังเกต การตรวจผลงาน หรือการสัมภาษณ์ แล้วแต่ว่าจุดประสงค์นั้นต้องการวัดด้านใด แต่สิ่งสำคัญ คือ เครื่องมือที่ใช้วัดต้องมีคุณภาพ เชื่อถือได้ และมีความเที่ยงตรงในการวัด

ขั้นที่ 9 ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้ (enhancing retention and transfer) เป็นการสรุป การย้ำ ทบทวนการเรียนที่ผ่านมา เพื่อให้มีพฤติกรรมการเรียนรู้เพิ่มขึ้น กิจกรรมในขั้นนี้อาจเป็นแบบฝึกหัด การให้ทำกิจกรรมเพิ่มพูนความรู้ รวมทั้งการให้ทำการบ้าน ทำรายงาน หรือหาความรู้เพิ่มเติมจากความรู้ที่ได้ในชั้นเรียน

          
          สรุป แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ ความรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้งบางประเภทมีความซับซ้อนมาก จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง กานเยได้จัดขั้นการเรียนรู้ซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายาก โดยผสมผสานทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยม และพุทธนิยมเข้าด้วยกัน
1.กานเย (Gagne) ได้จัดประเภทของการเรียนรู้ เป็นลำดับขั้นจากง่ายไปหายากไว้ 8 ประเภท ดังนี้
1.1 การเรียนรู้สัญญาน(signal-learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นไปโดยอัติโนมัติ อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ
1.2 การเรียนรู้สิ่งเร้า-การตอบสนอง(stimulus-response)เป็นการเรียนรู้ต่อเนื่องจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง ผู้เรียนสามารถควบคุมพฤติกรรมตนเองได้
1.3 การเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง (chaining) เป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองที่ต่อเนื่องกันตามลำดับ เกี่ยวข้องกับการกระทำ
1.4 การเชื่อมโยงทางภาษา (verbal association)เป็นการเรียนรู้ในลักษณะคล้ายกับการเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง แต่เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษา
1.5 การเรียนรู้ความแตกต่าง (discrimination learning) เป็นการเรียนรู้ที่ผสมผสานสามารถมองเห็นความแตกต่างของสิ่งต่างๆ 
1.6 การเรียนรู้ความคิดรวบยอด (concept learning) เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถจัดกลุ่มสิ่งเร้าที่มีความเหมือนหรือแตกต่างกัน
1.7 การเรียนรู้กฎ (rule learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการรวมหรือเชื่อมโยงความคิดรวบยอดตั้งแต่สองอย่างขึ้นไป และตั้งเป็นกฎเกณฑ์ขึ้น
1.8 การเรียนรู้การแก้ปัญหา (problem solving) เป็นการเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหา โดยการนำกฎเกณฑ์ต่างๆ มาใช้ 

2. กานเยได้แบ่งสมรรถภาพการเรียนรู้ของมนุษย์ไว้ 5 ประการ ดังนี้

2.1 สมรรถภาพในการเรียนรู้ข้อเท็จจริง (verbal information)โดยอาศัยความจำและความสามารถระลึกได้
2.2 ทักษะเชาว์ปัญญา (intellectual skills) เป็นความสามารถในการใช้สมองคิดหาเหตุผล โดยใช้ข้อมูล ประสบการณ์ ความรู้ ความคิดในด้านต่างๆ นับตั้งแต่การเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน
2.3 ยุทธศาสตร์ในการคิด (cognitive strategies) เป็นความสามารถของกระบวนการทำงานภายในสมองของมนุษย์ ซึ่งควบคุมการเรียนรู้ การเลือกรับรู้ การแปลความ และการดึงความรู้ ความจำ ความเข้าใจ และประสบการณ์เดิมออกมาใช้
2.4 ทักษะการเคลื่อนไหว (motor skills) เป็นความสามารถ ความชำนาญในการปฏิบัติหรือการใช้อวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายในการทำกิจกรรมต่างๆ
2.5 เจตคติ(attitudes) เป็นความรู้สึกนึกคิดของบุคคลที่มีต่อสิ่งต่างๆ ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจที่จะทำหรือไม่ทำสิ่งนั้น

3. การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด 9 ขั้น ดังนี้

ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ(Gaining attention)
ขั้นที่ 2 แจ้งจุดประสงค์(Informing the learning)
ขั้นที่ 3 กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(Stimulating recall of prerequisite learned capabilities)
ขั้นที่ 4 เสนอบทเรียนใหม่(Presenting the stimulus)
ขั้นที่ 5 ให้แนวทางการเรียนรู้(Providing learning guidance)
ขั้นที่ 6 ให้ลงมือปฏิบัติ(Eliciting the performance)
ขั้นที่ 7 ให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback)
ขั้นที่ 8 ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์(Assessing the performance)
ขั้นที่ 9 ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้(Enhancing retention and transfer)




ที่มา

เลิศชาย ปานมุข. (2558). http://www.lertchaimaster.com/forum/index.php?topic=36.0. [ออนไลน์] เข้าถึง              เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2561.

สยุมพร ศรีมุงคุณ. (2555). https://www.gotoknow.org/posts/341272. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม          2561.

สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา. (2553). http://surinx.blogspot.com/2010/08/2550-40-107-3-1-2-3-20-3-20-4-                  2550-45.html. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2561.

นวัตกรรมและสื่อการสอนคณิตศาสตร์

นวัตกรรมและสื่อการสอนคณิตศาสตร์ จุ ฑาทิพ ดีละม้าย     ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า ความหมายของ "นวัตกรรมการศึกษา"      ...